วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปกาเกอะเญอ


กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)


http://www.mediafire.com/?dud3zd65hd31g

แหล่งข้อมูลอื่น

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พื้นที่นากำลังหมดไป

สถานะการณ์ปัจจุบันพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ทำนากำลังถูกบุรุกด้วยบ้านจัดสรรที่นำเอาที่นาไปทำเป็นหมู่บ้านจัดสรรกันเกือบจะหมดแล้ว โดยเฉพราะถนนสายสันกำแพงสายใหม่ มีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นเป็นจำนวนมากที่ทุ่งนาที่เคยเห็นหมดไปทุกวันทุกเดือน อีกไม่นานที่นาแถวนี้คงจะหมดไป แล้วน้ำที่เคยใช้ในการทำนาที่เคยอยู่ในทุ่งจะไปอยู่ที่ไหน คงจะไม่มีที่อยู่ของน้ำก็คงจะเป็นน้ำท่วม 

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดงานศพทางภาคเหนือ

งานศพของแม่ฟองคำอายุ 80 ปีเป็นงานที่จัดตามประเพณีทางภาคเหนือของไทย ที่ไม่ใช้ประสาทวางโรงศพ แต่ใช้เป็นเต็นมาทำเป็นที่วางโรงศพแทนและยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้าเป็นทรงประสาทจะต้องเผ่าทิ้งอย่างเดียวเท่านั้น
จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เป็นการปรับไปตามยุกต์ที่เปลียนไป 





อาหารพื้นเมืองทีใช้ต้นกล้วยนำมาแกงกับเนื้อเลี้ยงแขก




วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บวชป่า

สาวปกาเกอะญอ
เด็กน้อยจากประเทศญีปุ่นที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาช่วยบวชป่า
คนญี่ปุ่นมาช่วยบวชป่า

คนปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง)เป็นชนเผ่าที่อยู่กับป่ารักษาป่า ชีวิตเขาต้องอาศัยป่าเป็นที่อยู่ที่กินถ้าเขาไม่รักษาป่าก็เหมือนไม่รักตัวเอง มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจวิถีชีวิตของเขา ยังประนามว่าเขาเป็นคนทำลายป่าผมว่าถ้าไม่มีชนเผ่านี้ป่าคงหมดไปจากประเทศเรานานแล้ว แม้แต่คนญี่ปุ่นยังบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาช่วยบวชป่าถึงบ้านเราแล้วคนไทยละทำอะไรกันอยู่ หรือมัวแต่ทะเลาะกันแบ่งกันเป็นสีนั้นสีนี้แล้วตีกันฆ่ากันไม่คิดที่จะทำอะไรดีๆบ้างหรือครับ

ลายผ้าม้ง

ลายผ้าชาวเขาเผ่าม้ง เป็นลายที่มีความสวยงามมีสีสดใส มีคนไม่น้อยที่นำเอาลายผ้าของม้งไปตัดเย็บเป็นเสื้อแฟชั่น หรือนำเอาลายปักไปตกแต่งกับเสื้อผ้า ลายผ้าของม้งมีเอกลักษ์ที่โดดเด่นเห็นแล้วสดุดตา ส่วนมากจะเป็นม้งผู้สูงอายุที่เป็นแม่เขาจะทำไว้ให้ลูกหลานเอาไว้แต่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประมาณเดือนธันวาคม มกราคมซึงจะมีประเพณีปีใหม่ม้งในช่วงนั้นพอดี ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตนเองปักลายที่สวยงามมาอวดกัน นับว่าเป็นอุบายที่ทำให้มีการรักษาการปักลายผ้าของม้งเอาใว้เป็นอย่างดี อนาคตลายผ้าม้งอาจจะสูญหายไปถ้าคนหนุมสาวม้งไม่รักษาการปักลายผ้านี้เอาไว้

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัดจันทร์

ทุ่งนาที่วัดจันทร์ อ.กัญลญาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ดินแดนที่มีความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ เป็นแหล่งที่มีต้นสนแห่งสุดท้ายของเมืองไทยที่ยังคงความสมบูรณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังใด้รับความสนใจของนักท่องเที่ยว เพราะอยู่ใกล้กับอำเภอปาย
      เมื่อราชการยกฐานะวัดจันทร์เป็นอำเภอที่ 25 ที่ชื่อว่า อําเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นอำเภอที่ 878 ของประเทศไทย และเป็นอำเภอล่าสุดของจังหวัดเชียงใหม่ จัดตั้งเป็นเขตปกครองระดับอำเภอตามพระราชกฤษฏีกา เมื่อวันที่ 18 มค. 2552 ประกอบด้วยตำบล ป่าแดด ต.แจ่มหลวง ต.บ้านจันทร์
      ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ต้นน้ำระดับชั้น 1และชั้น 2 พื้นที่ 80%เป็นภูเขาสูง ลักษณะเด่น เป็นป่าสน 2 ใบ และ 3 ใบมีชนเผ่าอยู่ 3 ชนเผ่า อันประกอบด้วย ลีซู ม้ง และปกาเกอญอ  กว่าร้อยละ 90 เป็นปกาเกอญอ เดิมชาวปกาเกอะญอเรียกดินแดนที่เป็นพื้นที่อ.กัลยาณิวัฒนา ในภาษาปกาเกอะญอหรือภาษากะเหรี่ยงว่า "มือเจะคี" 
  ปัจจุบันพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงเนื่องจากการทำเกษตรเชิงพาณิชย์ปลูกพืชเชิงเดี่ยวคืบคลานเข้ามาแทนที่อย่างน่ากลัว ทางหน่วยราชการจะต้องงัดเอาพระราชบัญญิติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535มาตรา (43,44) ปัดฝุ่นคมดาบขึ้นมาเงื้อง้า เพื่อยกให้อ.กัลยาณิวัฒนาเป็นต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยการจัดพื้นที่และมาตรการคุ้มครองผืนป่าสมบูรณ์แหล่งสุดท้ายก่อนจะสายเกินแก้
         ความหวาดวิตกกับพื้นที่อำเภอกัณญานิวัฒนาจะกรายเป็นปายแห่งที่ 2 เพราะพื้นที่ไม่ไกลผู้คนที่อยู่กับธรรมชาติป่าสนที่สวยงามจะต้องปรับตัวให้ทันของการเปลี่ยนแปลงที่จะรุกคืบคลานเข้ามาในด้านความจริญทางวัตถุนโยบายการท่องเที่ยวซึงจะนำมาของกระแสเงินทุนที่ไหลบ่าเข้ามาในพื้นที่กอบโกยผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นที่ดินแห่ลงทัรพยากรธรรมชาติต้องถูกบุกรุกยึดครองเปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของนายทุนที่มากว้านซื้อ ทำเป็นรีสอร์ทเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามาและนำวัฒนธรรมจากต่างถิ่นที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในท้องถิ่นอาจทำให้วัฒนธรรมอ่อนแอลงและถูกลืมเลือนหายไป  อยากเป็นแบบวัดจันทร์ หรือ อยากจะเป็นเหมือนปาย
     คนวัดจันทร์จะรู้เท่าทันและตั้งรับกับความเย้ายวนของความเจริญที่คนภายนอกเขาเรียกกันไหวไหมถ้าตั้งรับไม่ทัน แล้วละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตนเองวิ่งเข้าสู่วังวนของความศิวิลัยที่คนข้างนอกนำเข้ามาคงไม่ต่างจากเมืองใหญ่ที่มีสิ่งเย้ายวนยั่วยุมากมาย เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เสน่ห์วัดจันทร์จะถูกกลืนหายไป เหมือนตัวอย่างที่ปาย ความเป็นปายเมื่อ 20 ปีที่แล้วกับเดียวนี้ที่เปลี่ยนไปวัฒนธรรมคนปายธรรมชาติสวยงาม บ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่กลายเป็นรีสอร์ทของนายทุน มีอะไรเหลือความเป็นปายบ้างแล้วความเป็นปายมันอยู่ตรงไหน


       


วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ภูลังกา

บรรยากาศตอนเช้า วิวเขาที่สวยงามของเทือกเขาภูลังกา ในอำเภอปง จ.พะเยา ในเดือนธันวาคมซึงเป็นหน้าหนาวพอดีใครที่อยากไปเที่ยว จ.พะเยา ลองไปพักสักคืน ที่นั้นมีรีสอร์ทให้พักด้วย ลองไปเที่ยวดุนะครับรับรองจะติดใจในบรรยากาศที่ไม่เหมือนที่ไหน

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ท้องถิ่นยุคใหม่ : ใส่ใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก



ท้องถิ่นยุคใหม่ : ใส่ใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
สรุปโดยรุ้งเพชร สุมิตนันท์


        ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่น เป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางในการสร้างสังคมไทยในอนาคต ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมที่บุคคลในชาติสามารถปรับตัวให้ทันกับความรู้ของโลกที่เป็นสากล อันเนื่องมาจากกระแสการรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร สังคมไทยต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงให้รักการเรียนรู้ รู้วิธีการแสวงหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารมากขึ้นและปรับเปลี่ยนค่านิยมการเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมทักษะชีวิตให้กับเด็ก ให้เด็กคิดเป็นคิดอย่างมีเหตุมีผล และคิดอย่างเป็นระบบ จากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องนำแนวทางดังกล่าวสู่ความยั่งยืนโดยจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตำบล เพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูล ข่าวสาร และสถานที่จัดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเด็กในชุมชน ตลอดจนผลักดันไปสู่การเป็นตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน

ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่นประกอบด้วย ๗ ยุทธศาสตร์ ๒๘ มาตรการ ซึ่งในแต่ละมาตรการได้กำหนดตัวชี้วัดเพื่อบ่งบอกว่าได้บรรลุมาตรการ และยุทธศาสตร์เหล่านั้นหรือไม่เพียงใด ดังมีรายละเอียดดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่๑ : การพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการ

มาตรการที่๑: การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยบรรจุแผนส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในแผนพัฒนาท้องถิ่น

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีแผนงาน/โครงการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กบรรจุในแผนพัฒนาตำบล/แผนพัฒนาท้องถิ่น

มาตรการที่ ๒ สนับสนุนด้านวิชาการและสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักสามารถเป็นกลไกในการเฝ้าระวังปกป้องคุ้มครองและพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กระดับท้องถิ่น

ร้อยละ๓๐ของประชากรเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสาร เกิดความรู้ ความเข้าใจในการปกป้องคุ้มครองเด็ก

ร้อยละ ๕๐ของอปท.มีการจัดตั้ง คณะกรรมการุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กระดับท้องถิ่น

มาตรการที่ ๔ : สนับสนุนให้นำเสนอข้อมูลการวิจัยด้านเด็กต่อสังคมเพื่อสร้างกระแสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและกระบวนการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๕๐ของอปท.ได้นำองค์ความรู้ ข้อมูล ผลงานวิจัยเสนอต่อประชาชนให้รับทราบ/ตระหนักสนับสนุนด็กห้นำเสนอข้อมูลการวิจัยด้านเด็กต่อสังคมเพื่อสร้างกระแสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในพัฒนาเด็กการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็ก

มาตรการที่ ๕ : สร้างสิ่งจูงใจแก่ภาคเอกชนในการสร้างและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สำหรับ

เด็กและร่วมกันพัฒนาเด็ก มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและเชิดชูหน่วยงาน/องค์กรภาคีที่ดำเนินการด้านเด็กปีละ ๑ ครั้ง

มาตรการที่ ๖ : จัดให้มีกลไกเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งอบายมุขหรือแหล่งมั่วสุมของเด็กและเยาวชน

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีเครือข่ายเฝ้าระวังและแจ้งเหตุ

มาตรการที่ ๗ : สร้างและพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการสร้างและพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล

ยุทธศาสตร์ที่ ๒: สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและครอบครัว มาตรการที่ ๑ : ปลูกฝัง ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรมและสร้างทักษะในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องให้กับเด็กและครอบครัว

ร้อยละ๗๐ของอปท.มีกิจกรรมและโครงการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมของเด็กและครอบครัว

มาตรการที่ ๒ : ปลูกฝังแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กและครอบครัว

ร้อยละ๗๐ของครอบครัวและเด็กรู้และเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้เป็นที่พึ่งของเด็ก

ร้อยละ๗๐ของอปท.ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้เป็นที่พึ่งของเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๓: ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กในท้องถิ่น มาตรการที่ ๑ : จัดระเบียบชุมชนเพื่อขจัดพื้นที่เสี่ยงสำหรับเด็กและเยาวชน

ร้อยละ๗๐ของอปท.จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ดีและมีกรจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๒ : รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๗๐ของอปท.มีการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก


มาตรการที่ ๓ : ใช้มาตรการทางกฎหมายและสังคมในการควบคุมสถานบริการ สื่อลามก ร้านเกมส์อย่างเข้มงวด

จังหวัดมีคณะกรรมการและหรือหรือคณะทำงานตรวจสถานบริการร้านเกมส์ หอพักอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ชุด

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ของเด็ก มาตรการที่ ๑ : จัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเพื่อให้เด็กมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละ๘๐ของพื้นที่อปท.มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน /แหล่งเรียนรู้ /พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก

มาตรการที่ ๒ : จัดกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลายสำหรับเด็กตามกลุ่มอายุอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย เทคโนโลยีและทักษะชีวิตที่มีหลักการคิดอย่างมีเหตุผลและคิดอย่างสร้างสรรค์

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ /มีกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็ก

มาตรการที่ ๓ : พัฒนาบุคลากรของท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

มาตรการที่ ๔ : พัฒนาพ่อ แม่ ผู้ปกครองให้มีศักยภาพในการพัฒนาเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการพัฒนาศักยภาพ พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก ในการพัฒนาเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ส่งเสริมให้มีแผนตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน มาตรการที่ ๑ : ผลักดันให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบล น่าอยู่สำหรับเด็กในท้องถิ่นเพื่อให้มีงบประมาณรองรับสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีแผนงาน/ โครงการด้านตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน

มาตรการที่ ๒ : จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการลงนามบันทึกข้อตกลง/ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานองค์กรด้านเด็กในพื้นที่

มาตรการที่ 3 : จัดทำแผน ปฏิบัติการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการจัดทำแผนปฎิบัติการด้านเด็กร่วมกับภาคีเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาระบบฐานข้อมูล มาตรการที่ ๑ : กำหนดรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

มาตรการที่๒ : การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

ร้อยละ ๕๐ของจังหวัดมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านเด็ก

มาตรการที่ ๓ : สร้างและพัฒนาการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ๕๐ของจังหวัดมีระบบฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่น

มาตรการที่๔ : พัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำฐานข้อมูล

ร้อยละ๕๐ของ อปท.มีเจ้าหน้าที่ผ่านการฝึกอบรมระบบฐานข้อมูลด้านเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : พัฒนาเครือข่ายการทำงานเพื่อเด็ก

มาตรการที่ ๑ : ภาคีเครือข่ายมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๗๐ของจังหวัดมีภาคีเครือข่ายที่มีศักยภาพในการจัดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๒ : ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาร่วมกันจัดศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ๗๐ ของ อปท.มีศูนย์การเรียนรู้ด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๑๐๐ของจังหวัด/อำเภอ มีสภาเด็กและเยาวชนดำเนินงานด้านเด็ก

มาตรการที่ ๔ : พัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านสิทธิเด็ก รวมทั้งเด็กชาติพันธุ์ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ร้อยละ๗๐ของจังหวัดมีขั้นตอนการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิเด็กและเด็กชาติพันธุ์



หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก.โทร.๐๒ ๖๕๑๖๙๕๙

----------------------------

เอกสารอ้างอิง

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก. ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่น , ๒๕๕๒



















วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

งานวิถีชุมชน คนบ้านสหกรณ์ เทิศไท้องค์ราชัน














วันที่15 กุมภาพันธ์ 2555 ฯพณฯองค์มนตรี พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ เป็นประธานเปิดงานวิถีชุมชน คนบ้านสหกรณ์ เทิศไท้องค์ราชัน ณ โรงเรียนบ้านสหกรณ์ 2 อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ในงานมีการจัดนิทรรศการของหมู่บ้านสหกรณ์ 8 หมู่บ้านพร้อมด้วยหน่วยงานราชการต่างๆ ในงานมีการจัดแข่งขันกีฬานักเรียนในเขตอำเภอแม่ออนด้วย























วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้าวกล้องทำมือสันมะค่า


”“อำเภอป่าแดด” จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียง ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดี เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว 17 จังหวัดภาคเหนือ


"ตำบลสันมะค่า” อยู่ในอำเภอป่าแดด ประชากรร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก ปีละ 2 ครั้ง

ผู้สูงอายุในตำบลสันมะค่าได้รวมตัวกันก่อตั้ง “ชมรมผู้สูงอายุตำบลสันมะค่า”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

ในระยะเริ่มต้น “ชมรมผู้สูงอายุตำบลสันมะค่า”เป็นกลุ่มกิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน แต่ต่อมาได้เลิกกิจกรรมไปเพราะการทำเครื่องจักสาน ต้องใช้แรงตัดไม้ไผ่ในป่า นอกจากไม่เหมาะสมกับ วัยผู้สูงอายุแล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่ง ก็คือไม้ไผ่ป่าเริ่มหายาก อีกทั้งทุกชุมชนในละแวกนี้ ล้วนมีผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจำหน่าย ทำให้ขายได้ยาก

กลุ่มผู้สูงอายุได้มองเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่รวมกลุ่มจัดทำกิจกรรมผลิตข้าวกล้องหอมมะลิทำมือตำแบบโบราณ โดยใช้ครกกระเดื่อง เป็นการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง อีกทั้งส่งผลทางด้านจิตใจสร้างความภาคภูมิใจที่สามารถใช้ภูมิปัญญาสืบทอดและรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน

จึงนับว่ากลุ่มผู้สูงอายุเดินมาถูกทางที่ไม่ยอมอยู่เฉยๆหากิจกรรมมาทำคือการทำข้าวกล้องทำมือจากเมล็ดข้าวพันธุ์ดี ที่ทางเทศบาลตำบลสันมะค่าร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเน้นการส่งเสริมให้ปลูกข้าวในพื้นที่นาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมคุณภาพ และปลอดสารเคมี

จากข้อมูลปี พ.ศ.2553 การตรวจระดับสารเคมีในเลือดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลสันมะค่า ประชากรจำนวน 1,000 คนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พบว่าร้อยละ 72 มีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับสูง ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงหันมา ใส่ใจเรื่องสุขภาพ ดำเนินชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ที่อิงอยู่กับธรรมชาติ การกระทำกิจกรรมอย่างสมดุลในทุกช่วงชีวิตและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมรอบข้าง ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตและคุณค่าในตนเองอย่างมหาศาล

จึงได้แต่หวังว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นรายได้ต่อหัวประชากร จะไม่ทำให้ความรัก... ความศรัทธา...กับ สิ่งเล็กๆในธรรมชาติและวัฒนธรรมของคนที่นี่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเกินไป



มารู้ภาษานิเวศกันถอะ

ภาษานิเวศ (Ecological Literacy หรือ Eco-literacy)


ภาษานิเวศ เน้นความสามารถที่จะเข้าใจระบบต่างๆ ของธรรมชาติที่ได้โอบอุ้มชีวิตต่างๆ บนโลกใบนี้ การรู้ภาษานิเวศจึงหมายถึงการเข้าใจหลักเกณฑ์การจัดองค์กรของชุมชนนิเวศแบบต่างๆ ที่เรียกว่า “ระบบนิเวศ” และนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปสร้างสรรค์ชุมชนมนุษย์ที่อยู่อย่างยั่งยืน

สังคมที่รู้จักภาษานิเวศ เป็นสังคมยั่งยืนที่เข้าใจดีว่าจะอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่ชาวพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยโดยไม่ทำลายได้อย่างไร

การรู้ภาษานิเวศจึงเป็นเรื่องของการเข้าใจและการปรับใช้หลักเกณฑ์การจัดองค์กรของระบบนิเวศต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ว่าจะสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้อย่างไร

ภาษานิเวศได้ผนวกรวมศาสตร์ที่ว่าด้วยระบบต่างๆ เข้าด้วยกันกับนิเวศวิทยา ในการผนวกรวมศาสตร์ทั้งสองด้านดังกล่าวจึงต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างซาบซึ้งทั้งกับธรรมชาติ และบทบาทมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ

การคิดเป็นระบบ (Systems thinking) คือการตระหนักรู้ว่าโลกทั้งผองเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน หาใช่เป็นการรวบรวมส่วนประกอบแต่ละอย่างเข้าด้วยกันไหม

พริตจ๊อบ คาบรา ได้กล่าวไว้ว่า ในหลายสิบปีข้างหน้า การอยู่รอดของมนุษย์ชาติจะขึ้นอยู่กับการเข้าใจภาษานิเวศของเรา เราต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของนิเวศวิทยาเพื่อที่จะอยู่กับมันได้ นั่นคือ ภาษานิเวศต้องกลายเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักการเมือง ผู้นำธุรกิจและนักวิชาชีพทุกสาขา

เดวิด ออร์ ได้ระบุถึงเป้าหมายภาษานิเวศว่า “ภาษานิเวศ ถูกสร้างขึ้นมาจากความตระหนักว่า ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ สะท้อนถึงความเสื่อมถอยของจิตใจที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าจึงเป็นปัญหาใหญ่ของสถาบันต่างๆ ที่มุ่งยกระดับจิตใจ หรืออีกนัยหนึ่ง วิกฤตนิเวศน์ ก็คือ วิกฤตการศึกษานั่นเอง การศึกษาทั้งมวลเป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมว่าจะให้เด็กๆเป็นส่วนหนึ่ง หรือ แยกส่วนออกจากโลกธรรมชาติ” เขาเน้นย้ำอีกว่าการเข้าใจภาษานิเวศน์ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสาขาวิชาใดๆ แต่เป็นการสร้างสรรค์ถักทอสายใยอย่างมีความหมายระหว่างการใช้สมองคิด การลงมือทำและการทุ่มเททั้งหัวใจ

                       ที่มา:จากข้อเขียน David W.Orr และ Capra

photolee

photolee
Thawat Palee