วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เที่ยวเชียงตุ

เมื่อวันที่ 18-21พฤษจิกายน 2552 ผมมีโอกาสไปท่องเที่ยวกับหลวงพี่ไก่ ที่ได้จัดไปแสวงบุญที่เมืองเชียงตุประเทศพม่า ในการเดินทางครั้งนี้เราไปกัน10คนรวมคนขับรถเราเดินทางจากเชียงใหม่เวลา6โมงเช้า ถึงแม่สายประมาณ 10 โมง เข้าไปที่ทำการด่านตรวจที่แม่สายและข้ามด่านพรมแดนพม่าเข้าไปที่ตลาดในฝังพม่า เดินดูในตลาดสักพัก เพื่อรอรับมคุเทศนำทางที่ต้องไปกับเราอีกหนึ่งคน
       จากนั้นก็เดินทางต่อเพื่อมุงสู่เมืองเชียงตุ ระหว่างการเดินทางต้องผ่านด่านตรวจกว่าแปดจุด ถนนก็พอใช้ได้แต่เราไม่สามารถวิ่งได้เร็วเพราะถนนแคบ การวิ่งรถจะต้องวิ่งทางด้านซ้ายตลอดไม่เหมือบ้านเราที่วิ่งทางด้านขวาเรามาพักทานเข้าเที่ยงกันที่ บ้านท่าขี้เหล็ก ที่เป็นร้านที่รถเดินทางจะต้องมาพักทานอาหารกันที่นี่ เพาะเป็นที่พักรถโดยสารและขนสินค้าที่จะพักจอดเพื่อเช็ครถ รถที่วิ่งวิ่งมาไกลๆเครื่องมันจะร้อน เขาก็จะเอาน้ำมารดไห้เครื่องเย็นลง
        ระหว่างที่เราทานข้าวกันผมเหลือบไปเห็นในร้านเขาเปิดทีวีอยู่ แต่ชองทีวีที่เปิดเป็นละครไทยและเป็นช่อง7สีของประเทศไทย แต่แปลกคือเด็กเสริฟในร้านฟ้งภาษาไทยไม่ออก อาหารที่เราทานก็เป็นอาหารที่เหมือนของไทยทุกคนทานได้
        หล้งจากจัดการกับการกิน และทำธุระส่วนตัวเข้าห้องน้ำ เราก็ออกเดินทางกันต่อ ระหว่างทางก็จะมีรถขนสินค้าจากจีนวิ่งสวนทางกับเราเป็นระยะๆ รถที่เขาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นรถที่ใช้มานานสมัยสงครามโลก ซึ่งเป็นรถของญี่ปุ่นบ้าง ของอังกฤษบ้าง
     ขอพักการเขียนไว้เท่านี้ก่อน เดียวมีเวลาจะมาเล่าต่อ สวัสดีครับวันนี้ขอเล่าต่อจากวันกอ่นที่เล่าค้างไว้ จากที่พักทานอาหารและเดินทางต่อนั้นเราก็มาพักแวะตลาดเล็กๆริมทาง แวะทักทายกับแม่ค้าที่ขายของ สินค้าที่นำมาขายก็มีปลาส้ม น้ำปู(ทำมาจากการเอาปูมาตำแล้วมักเอาไว้แล้วนำมาเคี่ยวไฟ จะมีลักษณะ สีดำใช้ตำน้ำพริกน้ำปู นำไปใส่ยำหนอไม้บ้าง)แม่ค้าใช้ภาษาไทยพื้นเมือง(ภาษายอง ซึ่งเป็นภาษาที่เราสามารถสื่อสารกับเขาได้ ซึงเป็นภาษาที่คนทางภาคเหนือ อย่างที่จังหวัดลำพูนแถวอำเภอบานธิบ้านผมเอง และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่บางหมู่บ้าน ภาษายอง(หรือไทยลื้อ)ยังมีที่สิบสองปันนาทางไต้ของประเทศจีน
     หล้งจากทานอาหารเสร็จเราก็เดินทางกันต่อไปเพื่อมุ่งสู่เมืองเชียงตุกันต่อไป

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ฮีตฮอยบ่าเก่า

       ประเพณีการรดน้ำดำหัว เป็นประเพณีของคนทางภาคเหนือ ปัจจุบันเปลียนแปลงไปมากเพราะคนไม่เข้าใจนำเอาประเพณีทางภาคกลางมาผสมประสานจนของเดิมหายไป เช่นการรดน้ำดำหัวก็นำเอาคนแก่มารวมกันเยอะมานั่งเรียงกันแล้วให้คนเข้าแถวเอาน้ำมารดที่มือ ท่านคิดว่าของเดิมที่ถูกต้องทำอย่างไรครับ ช่วยออกความคิดเห็นหน่อยนะ

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การเทรนงาน

วันที่20ตุลาคม 2552 ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่13ส่งเจ้าหน้าที่ 2 คน มาฝึกงานด้านการตัดต่อวีดีทัศน์ที่ฝ่ายวิชาการ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ10 โดยคุณผาด สุวรรณรัตน์ เป็นผู้ให้ความรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาพวิวสวย
















ภาพพระอาทิตย์กำลังขึ้นที่บ้านห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน Canon MarkII

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บูรณาการ

หน่วยงานพม.จังหวัดเชียงใหม่ประชุมหารือร่วมกันก่อนเพื่อกำหนดรายละเอียดในการหาแนวทางบูรณาการในการทำงานประจำปีงบประมาณ 2553ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 5-6 พ.ย 2552ณ ที่ นิคมดอยเชียงดาวอำเภอเชียงดาว

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

นกนางแอ่น

พบนกนางแอ่นย้ายถิ่นหนีหนาวมาที่แม่แตง จ.เชียงใหม่ ผู้คนจำนวนมากแตกตื่นไปดูฝูงนกนางแอ่นที่มาพักอาศัยที่ป่าไมยราบข้างทางเชียงใหม่ปายตัดใหม่ ซึงมีนกนางแอ่นจำนวนมากซึงนกจะกลับที่พักในเวลาเย็นประมาณ18น.ของทุกวัน ทำให้ผู้คนต่างมาเฝ้าดูนกกันเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งดูนก และพ่อค้านำของมาจำหน่าย เป็นที่ทำมาหากินกลายเป็นตลาดย่อมๆเลยละจากการที่เราได้พบกับผู้เชียวชาญด้านนกคือ คุณลุงปรีชา ลือชา เคยทำงานที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผุ้ที่ร่วมทำตำราการดูนกมากว่า40ปี ทราบว่าเป็นนกนางแอ่นที่หนีหนาวมาจากทางไซบีเรียซึ่งทางที่นั้นมีอากาศหนาว จึงอพยบมาหาอากาศที่อบอุ่นกว่า แต่เราก็อดที่จะเป็นหว่งไม่ได้ว่าการที่หนีหนาวมาจะกลายเป็นหนีมาตายที่เมืองไทยเพราะชาวบ้านมักจะลักลอบเข้าไปจับมากิน เพราะคนทางเหนือส่วนมากชอบจับนกนางแอ่นเอามาทำอาหาร  อยากให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาในการดูและไม่ให้ใครมาจับเอาเขาไปกิน ช่วยกันหน่อยนะครับ• Thaiall


วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

บ้านปางจำปี

                                                                            

              วันที่27กันยายน 2552 ผมและเพื่อนๆร่วมกระบวนการท่องไพรชวนกันไปเพื่อเรียนรู้ที่หมู่บ้านปางจำปี หมู่ 7 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานการเรียนรู้ชุมชน คนรักษ์ป่า พื้นที่การเรียนรู้บ้านวังปลา  แหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศลำน้ำแม่ลายน้อย
                 ความหลากหลายของป่าต้นน้ำ บ้านพักและศูนย์บริการข้อมูลตูบซางคำ ฟ้งแนวคิดการพัฒนาจากผ้นำ บนฐานการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง ชุมชนบ้านปางจำปีได้ปรับวิธีการ บริหาร ชุมชนในลักษณะ Model รปแบบประเทศ คือผู้ใหญ่บ้านเปรียบเป็นเหมือนนายกและมีรัฐมนตรี แต่ละกระทรวงร่วมกันบริหาร ร่วมวางเป้าหมายและยุทธศาสตร์
             การพัฒนาหมู่บ้าน การฟื้นฟูและอนุรักษ์แม่ลายน้อยเพื่อพัฒนาบ้านปางจำปีให้เป็นหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนอกจากจะคืนความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าอันเป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำ “แม่ลายน้อย”จากคำบอกเล่าของผู้นำ ทราบว่าชาวบ้านปางจำปี สามารถรวบรวมผืนป่าที่เคยถูกบกรุกคืนให้แก่ธรรมชาติ จากที่เคยมีปัญหานายทุนนอกพื้นที่เข้ามาซื้อที่ดิน และขยายพื้นที่เข้าไปในเขตป่า ชาวบ้านบางรายเมื่อขายที่ทำกินไปแล้ว ก็รุกป่าหาพื้นที่ทำกินใหม่ 
                โดยวิธีชุมชนจัดการกันคือการทำ "โฉนดชุมชน" ซึงถือเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน งานที่สำเร็จได้มาจากดอกผลของการที่ชาวบ้านมีงานวิจัยซึงได้สนับสนุนจาก สกว.แม่โจ้ ทำให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งที่จะลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาของตนเองได้
                 นับว่าบ้านปางจำปีเป็นแหล่งที่ชุมชนอื่นจะได้มาเรียนรู้ และนำแนวคิดกลับไปปรับใช้กับชุมชนของตนเองได้ป็น อย่างดี เราชาวคณะที่ประกอบไปด้วยผู้มีใจรักในธรรมชาติ เป็นครูและเป็น อบต.ที่รักในการพัฒนาคงจะเกิดแนวคิดดีๆนำกลับไปปรับใช้ในชีพวิถีของตนเองให้เกิดประโยชน์โดยส่วนตัวและกับชุมชนของตนของตนต่อไปนะครับ    
    ท้ายนี้ขอนำข้อคิดดีๆ จากที่มีคนเขียนเอาไว้ จึงขอนำเอามาเผยแพร่ต่อ คือกระบวนการทางปัญญาที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ
        1) ผู้ที่อยู่ในกระบวนการจะต้องมีการพิจารณาและคิดอย่างเชื่อมโยงอยู่เสมอ
        2) จะต้องหมั่นฝึกคิด ใครฝึกคิดบ่อยๆ ก็ได้คิดเก่งขึ้น
        3) จะต้องมีศรัทธาหรือความเชื่อในสิ่งที่ตนเองทำก่อนว่าเราสามารถทำได้
        4) จะต้องมีกิจกรรมร่วมกับกัลยาณมิตร และมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ

        "คิดเชื่อมโยง - คิดบ่อยๆ - ศรัทธาตัวเอง - มีเพื่อนคุยกันสม่ำเสมอ"

SRC = "PHOTO.GIF">

                                           

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาษายองวันละคำ

2      ภาษายองเป็นภาษาท้องถิ่นของคนบ้านหว้ยไซ ต.หว้ยยาบ  อ.บ้านธิ จ.ลำพูน      ภาษายองจะออกสำเนียงเหมือนชาวสิบสองปันนาที่อยู่ในประเทศจีนตอนไต้ สิบสองปันนา   มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นชนชาติไทย อาณาจักรสิบสองปันนามีความเจริญรุ่งเรืองมีกษัตริย์ปกครองต่อเนื่องยาวนาน แต่ไม่อาจต้าทานความยิ่งใหญ่ของจีนได้จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของจีน ในยุคต่อมาคอมมิวนิสต์ยึดประเทศจีนได้สำเร็จจึงมีผลทำให้แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง แต่ภาษาชนชาวยองยังคงรักษาเอาไว้จนทุกวันนี้ ขอให้ลูกหลานของชาวยองจงรักษาเอาไว้ให้นานเท่านานนะ

วันนี้เสนอคำว่า

ฮืมโม้ง หรือ( บะโม้ง )  หมายถึง มะม่วง
อยู่ฮั่นนอ หมายถึงอยู่ที่นั้นไง เป็นการบอกคนที่กำลังหาของอะไรสักอย่างแต่หาไม่เจอ คนที่หาของเจอก่อนก็จะบอก และใช้มือชี้ไปหาของที่เจอ และบอกว่า อยู่ฮั่นนอ(อยู่นั้นไง) อยู่ฮั่นแน่ะ เป็นการบอกซ้ำ
บะก๋วยสีเปา: หมายถึงลูกมะละกอ ทางภาคอีสานเรียก บักสีดา

เต่วหลั่ง  หมายถึง กางเกงขายาว ที่มาคือคนยองเห็นว่ามีแต่ฝรั่งหรือชาวต่างชาติใส่กางเกงขายาวจึงเรียกชื่อตามคนใส่ ถ้ากางเกงขาสั้น
เรียกว่า เต่วแร่ด                                           

 ขอแฮม หมายถึง ขออีก เป็นคำที่คนนั้นทำอะไรที่ยังไม่พอใจหรืออยากจะได้อะไรเพิ่มเติมเพื่อให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม ให้เป็นที่พออกพอใจจึงใช้คำว่า ขอแฮม

จะไป่ลุนแล่น หมายถึง อย่าวิ่งซุกซน เป็นคำที่บอกให้เด็กที่กำลังวิ่งเล่นซุกซนไห้ระมัดระวัง

จะลุ่ม: จุ่มหรือแช่ เช่นเอามือแช่น้ำแล้วเอามือออกทันที่

ขะหนุ๋มซิ่น หมายถึง ขนมจีน เป็นขนมที่มีลักษณ์ที่เป็นเส้นที่ทุกคนชอบกินกัน เช่นขนมจีนน้ำเงี่ยว

ลึกลื๋น หมายถึง คนดื้อลั่น คนที่ไม่ย่อมใคร

ซะกุ่ง หมายถึง จิ่งรี่ด หรือ จิกุ่ง เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ร้องเสียงด้งเวลาค่ำคืน

กบตู หมายถึง คางคก เป็นสัตว์คล้ายกบมีต่อมที่เป็นพิษ

โง  หมายถึ่ง วัว

ต่าว หมายถึง หกล้ม เป็นอาการที่คนเดินแล้วสดุดหกล้มเอาหน้าฟาดกับพื้น

ตากหง๋าย หมายถึง หกล้ม เป็นอาการหกล้มอีกอย่างเป็นเอาท้านทอยลง

จ๊ะปิ่กเฮือน หมายถึง จะกลับบ้าน  ปิ่ก(กลับ) เฮือน (บ้าน)

ฮื่อมันเห   หมายถึง ให้มันไปเสียเถอะ  ลักษณะคือมีคนมาขอสิ่งของแล้วมีคนที่สามมาบอกว่าให้สิ่งที่เขาขอนั้นให้เขาไปเถอะ

เก้าไม่ หมายถึง ต้นไม้

ผ้าคาดโห หมายถึง ผ้าขาวม้า เป็นผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งของผู้ชายเวลาอาบน้ำลักษณะคล้ายผ้าเช็ดตัวแต่มีความบางกว่าส่วนมากทำจากผ้าฝ้ายพื้นเมือง มีลายเป็นตราหมากหลุก คนยองมักจะนำไปฟันที่ศรีษะ
เอามาคาดที่ศรีษะ(มาจากคำว่า ผ้าคาดหัว)


ผ้าแจ๋ง หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า เป็นผ้าฝืนเล็กๆสำหรับเอาไว้เช็ดหน้า

ลิ๋นฮุง หมายถึง เล่นว่าว เป็นเครื่องเล่นชนิดหนึ่งที่เล่นแถวสบามหลวง เรียกว่า การเล่นว่าว

เอาแฮมหม่อ หมายถึง เอาอีกแล้ว เป็นคำอุทานที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซากที่ไม่พึงประสงค์ที่จะให้มันเกิด
ซ้ำอีก

บ่ายั้งปิ้นล่ำปิ้นเหลอ หมายถึง อะไรกันนักกันหนา เป็นคำบ่นที่เกิดจากการที่มีการกระทำที่น่าเบื่อไม่รู้จักจบสิ้นหมายการเมืองในตอนนี้ ว่าเมื่อไรจะจบสิ้นกันเสียที่

ปะกั๋นแห่มแล้วน้อ หมายถึง วันนี้วันที่ 7 ตุลาคม 2553เจอกันอีกแล้วครับ

ตาวด้งตะลุบปุม หมายถึง  คนที่หกล้มเสียงด้งตุบ

หลดกุ่น หมายถึง รถจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ล้ม หลด คึอ รถ กุ่น คือ อาการของรถล้มลง

ลดจุน  หมายถึง รถชนคน

ลดแล่ว  หมายถึง รถที่ชนแล้วดูไม่ได้ ยับเยิ่นไปหมด

กึดยาก  หมายถึง การที่เราคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร มันคิดไม่ออก ไม่แน่ใจที่จะทำให้สำเร็จ

ฮู้เป่อเลอะ  หมายถึง การที่มีใครสักคนคิดจะทำอะไรเราสามารถรู้เท่าทันเล่ห์เหลียมของเขา (ฉันรู้นะคิดอะไรอยู่)
ปิ้ด หมายถึง ดินสอดำ

โม้ง   หมายถึง ที่ใช้เก็บสัตว์น้ำที่เราจับมาเช่นปลาคำเมืองเชียงใหม่เรียกว่า ข้อง

ซึ่งตึง=  คนโง่ที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย โง่แล้วอวดฉลาด

ตําแหล่วเมือง =  คนที่ชอบเที่ยวจนรู้จักคนไปทั่ว คนที่มีเพื่อนมากไม่ว่าจะไปที่ไหนมีแต่คนรู้จัก

หมิ่นโอ่ = กลิ่นเหม็นที่ไม่พึงประสงค์ทุกชนิด

หวิ๋ด = ขาดไปนิด ลักาณะที่มีการทำอะไรไม่พอดี เช่นอยากได้ของ 10อย่างแต่ขาดไป2จะครบ10 เรียกว่าขาดไป
ผะเหลิด =  ลื่นถะไหล อาการทีเรายืนไม่อยู่ ลืนหกล้ม

มื่น = ลื่น เช่นสิ่งของที่มีความมันเราจับไม่อยู่หลุดมือเพราะลื่น

หมิ่น = สีของควันไฟที่ติดอยู่ก้นหม้อที่มีสีดำๆสามารถเอามาทำเป็นสีในการเขียนได้

ก๋ำปือ = จับเหวี่ยงทิ้ง  เป็นการที่เราได้สิ่งของที่ไม่ชอบเราก็จับของนั้นเหวี่ยงทิ้งแบบไม่เยื้อใย

ก๋ำแย็ด = จับซุก เป็นการจับสิ่งของแล้วจับยัดเข้าไป เช่นจับไม้ซุกเข้าไปในรู

ขี้จุ =โกหก

ขี้จ้ะ = อาการรังเกียดอะไรสักอย่างที่สกปรกไม่หน้าดูที่สุด

ขี้ค้าน = ขี้เกียจ

ขี้ขน =  กรน คนที่นอนกรน

ขี้เต้า = ขี้เถ้า สิ่งที่เกิดจากการเผ่า  เรียกว่าขี้เถ้า

ขี้ตี่น = รอยเท้าทีเราเคยเดินเหียบมาแล้ว

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

KM การจัดการความรู้

          งานบุญ : สวัสดิการสังคม    เป็นผลผลิตจาก การถอดบทเรียน และการจัดการความรู้ ในเรื่องของงานบุญ ที่มีต่องานสวัสดิการสังคมโดยความร่วมมือ ร่วมใจของ ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ร่วมกันศึกษาแนวทางในการจัดสวัสดิการ ด้านจิตใจ ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดการความรู้ ๒ เรื่องจากงานบุญ ๒ รูปแบบ ที่มีผลต่อสวัสดิการชุมชน คือ ปอยหลวงปลอดเหล้าของวัดหัวริน ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และพิธีสืบชะตาผู้ประสบทุกขภาวะคนดอยสะเก็ดของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

         งานปอยหลวงปลอดเหล้าของวัดหัวรินได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองศาลาอเนกประสงค์ของวัด โดยเกิดจากดำริของพระครูวิวิธ ประชานุกูล เจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นพระนักพัฒนาให้การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเอดส์มาตั้งแต่ต้นและส่งเสริมกิจกรรมวัฒนธรรม และประเพณีทางศาสนาของวัดไม่ให้มีเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย แม้แต่งานปอยหลวงซึ่งเป็นงานบุญที่ชาวบ้านจะสนุกสนาน เลี้ยงดูเอิกเกริก ท่านเป็นแกนหลักร่วมกับฆราวาสฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ชาวบ้าน ฝ่ายปกครอง สามารถจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการประหยัดเงินให้ชุมชนไม่น้อยกว่า๕ ล้านบาท และยังได้เป็นหัวหน้าโครงการ “ลดเหล้าในประเพณีปอยหลวง เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาวะ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่” จนประกาศ อำเภอสันป่าตองเป็นอำเภอนำร่องในการลดเหล้าในประเพณีปอยหลวงแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะให้ชาวบ้านลดเหล้าในงานปอยหลวงแต่ท่านและชุมชน มีความกล้าหาญที่จะดำเนินงานนี้ โดยมีการค้นหารูปแบบการจัดงานเพื่อให้ “ผลการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ใช่งานเมาครั้งยิ่งใหญ่”ได้สำเร็จลุล่วงเป้าประสงค์
         
          พิธีสืบชะตาผู้ประสบทุกขภาวะคนดอยสะเก็ด เป็นงานที่คณะกรรมการดูแลสุขภาพของอำเภอดอยสะเก็ดร่วมกับคณะสงฆ์ของอำเภอดอยสะเก็ดจัดขึ้นเพื่อให้ขวัญและกำลังใจแก่ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ป่วยเรื้อรัง คนแก่ที่ไม่มีโอกาสจัดพิธีสืบชะตาได้ด้วยตนเอง เพราะเป็นพิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ด้วยความเชื่อของคนล้านนาการสืบชะตาเป็นสิริมงคลสูงสุดของชีวิต โดยได้จัดให้กับคนที่มีความ ทุกข์ทั้งทางกายและจิตใจเป็นเวลาติดต่อกันมา ๗ ปี ซึ่งเป็นสวัสดิการด้านหนึ่งที่ชุมชนโดยภาคส่วนต่าง ๆ มีความสามัคคีร่วมมือกันจัดขึ้นเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ประสบทุกข์ภาวะ หรือผู้มีจิตศรัทธาในพิธีกรรมแต่ไม่สามารถดำเนินการเองได้งานบุญทั้ง ๒ เรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่าศาสนามีส่วนร่วมในวิถีชีวิต ของคนทุกสังคม ทุกชนชั้น การที่คณะสงฆ์เข้ามาใส่ใจวิถีคนในชุมชน ทำให้เป็นศูนย์รวมในการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ของคนในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นรูปแบบการให้สวัสดิการแก่ชุมชนทางด้านจิตใจที่ไม่ใช่เป็นตัวเงิน หรือสิ่งของเท่านั้นดังนั้นคณะทำงานเห็นว่ารูปแบบการจัดสวัสดิการแก่ชุมชนโดยคณะสงฆ์และฆราวาส ชาวบ้าน หรือ บวร = บ้าน วัด รัฐ ร่วมมือร่วมใจกันนี้ควรจะมีการขยายผลเพื่อเป็นรูปแบบนำร่องแก่ชุมชนอื่น ๆได้นำไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวของศาสนาต่อไปคณะทำงานขอกราบนมัสการท่านเจ้าคุณโพธิรังสีเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด และท่านพระครูวิวิธประชานุกูล เจ้าอาวาสวัดหัวริน และขอขอบคุณท่านผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ให้ความรู้และให้โอกาส ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประมวลเป็นเอกสารชุดความรู้ งานบุญ : สวัสดิการสังคม เพื่อขยายผลต่อไป


งานวิจัย


   ตำบลบ้านสหกรณ์มีอยู่ 8 หมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก   สกว.แม่โจ้   ดำเนินการในปี 2551 จำนวน 8เรื่อง ได้แก่
 
 หมู่ที่ 1 แนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดอยสี่เหลี่ยมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน
 
 หมู่ที่ 2  แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพ หัตถกรรมบนพื้นฐานความรู้  เดิมและความรู้ใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาชีพ
  
หมู่ที่ 3  การพัฒนาโคพันธุ์พื้นเมืองที่เหมาะสมต่อวิถีเศรษฐกิจ(พัฒนาโคพันธ์แองกัส )
  
หมู่ที่ 4  การทำเกษตรรูปแบบเกษตรผสมผสานภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือน

หมู่ที่ 5  แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำห้วยย่าพาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
  
หมู่ที่ 6  การทำเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
  
หมู่ที่ 7 แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มธนาคารวัวเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน
  
หมู่ที่ 8  การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารห้วยขอนขว้างเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
          
         จากการที่ชุมชนทำงานวิจัย ทำให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่พึ่งตนเองมากยิ่งขึ้น แทนที่จะคอยตั้งรับการสั่งการจะรัฐ หันมาพูดคุยกันมากขึ้นช่วยกันคิดแก้ปัญหาของตนเอง แทนการคอยรับอย่างเดียว การที่มีงานวิจัยเข้าสู่ชุมชนเป็นการช่วยให้ชุมชนเริ่มที่จะเข้มแข้ง งานวิจัย เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพให้บุคคล กลุมคน ชุมชน มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ งานวิจัยเป็นการพัฒนาคน

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

งดเหล้าในงานบุญ

ปอยหลวง : งานบุญครั้งยิ่งใหญ่ หรืองานเมาครั้งยิ่งใหญ่


                คำว่า “ปอยหลวง” เป็นภาษาถิ่นของชาวล้านนา มาจากคำสองคำรวมกัน ได้แก่คำว่า “ปอย” แปลว่า งานบุญ และ คำว่า “หลวง” แปลว่า ใหญ่ คำว่า “ปอย” มักใช้ร่วมกันกับคำอื่นๆ อีก นอกจากคำว่าปอยหลวง ได้แก่ ปอยล้อ ปอยส่างลอง โดยรากศัพท์แล้ว กล่าวกันว่า คำว่า “ปอย” หมายถึง “งานบุญ” ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนจัดขึ้นเพื่อให้เกิดบุญกุศล เป็นการร่วมกันสร้างกุศลในโอกาสต่างๆ เช่น คำว่าปอยล้อ ใช้เรียกงานบุญที่จัดทำกันขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลให้แก่พระเถระ หรือพระสงฆ์ที่มรณภาพ ส่วนปอยส่างลองนั้น เป็นคำที่ใช้เรียก ประเพณีการบรรพชาสามเณรของชาวไทยใหญ่ โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

            การทำบุญแต่ละครั้งมักนำมาซึงการดื่มสุรา เงินที่สูญเสียไปกับการซื้อของพวกนี้มีมากกว่าการนำไปทำบุญ ทั้งๆที่ศาสนาพุทธมีศีลข้อที่ห้ามไม่ให้ดื่มสุรา แต่คนก็ยังใช้สุราเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรที่จะมีศีลข้อห้ามนี้
         
              สำหรับงาน “ปอยหลวง” นั้น โดยรูปศัพท์และตามความหมายดั้งเดิมนั้น หมายถึง “งานบุญครั้งยิ่งใหญ่” ซึ่งคนในชุมชนจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่จะถวายเสนาสนะที่สร้างเสร็จใหม่ภายในวัด ไม่ว่าจะเป็น วิหาร อุโบสถ กำแพงวัด โรงฉันท์ และศาลา เป็นต้น ให้เป็นสมบัติของสงฆ์เพื่อใช้ในงานสาธารณะประโยชน์ต่อไป

             มีกำหนดเพิ่มเติมขึ้นภายหลังด้วยว่า การจะมีปอยหลวงได้นั้น ของที่จะถวายควรจะมีราคาตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ถ้าราคาต่ำกว่านั้นก็อนุญาตให้เพียงทำบุญถวายเท่านั้น ช่วงประเพณีปอยหลวง มักจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือน ๕-๘ เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) เพราะเว้นว่างจากการทำไร่ไถนา งานนี้จะจัดขึ้นประมาณ ๓-๗ วัน แล้วแต่ฐานะของแต่ละชุมชน

           การที่เรียกกันว่างานปอยหลวงซึ่งหมายถึงงานบุญครั้งยิ่งใหญ่นั้น เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลเป็นจำนวนมาก มีกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางศาสนาและด้านมหรสพเพื่อความบันเทิง ทั้งยังต้องจัดการอำนวยความสะดวก ด้านบริการแก่แขกต่างหมู่บ้านซึ่งจะมีทั้งสมณะและฆราวาส ทุกเพศทุกวัย ทางวัดและศรัทธาเจ้าภาพต้องดูแลให้ทั่วถึง

       เจตนารมณ์ของงานประเพณีปอยหลวงที่สืบทอดกันมา คือความต้องการร่วมกันของคนในชุมชนในการที่จะจัดงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดบุญกุศลและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของแต่ละคน ตลอดไปจนถึงสันติสุขในครอบครัว และความสงบร่มเย็นของชุมชน ปัจจุบัน งานปอยหลวงในชุมชนเริ่มเปลี่ยน คุณค่าที่แท้จริงในทางศาสนาและพิธีกรรมลดลง

       ทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านต้องจัดเตรียมสถานที่ ข้าวปลาอาหารอย่างดี และที่ขาดไม่ได้ในแต่ละบ้านคือ เครื่องดื่มของมึนเมา ซึ่งก่อนจัดงานปอย พ่อค้าส่งจะนำเครื่องดื่ม ทั้งสุรา เบียร์ น้ำอัดลมรวมถึงน้ำแข็งมาลงไว้ให้ก่อนโดยยังไม่ต้องจ่ายเงิน การร่วมทำบุญโดยใส่ปัจจัย(นำเงินใส่ซอง) ซึ่งจำนวนคนที่มาแต่ละหลังคาเรือนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใครมีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงมากน้อยแค่ไหนและเจ้าของบ้านเคยได้ไปฮอมปอยใครไว้บ้าง (เรียกว่ามา ส้าย คือเราไปช่วยทำบุญเขา เขาก็มาช่วยทำบุญคืน มีลักษณะหมุนเวียนกันไปแล้วแต่ว่าบ้านใครจะมีปอย ภาษาคนเฒ่าคนแก่จะเรียกว่า “หัววัดเติงกั๋น” หมายถึง เป็นชุมชนที่ไปมาหาสู่ กัน (มีความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายคอยช่วยเหลือกัน) เจ้าภาพก็มีหน้าที่ทำกับข้าวกับปลา (ระยะหลังเน้นเป็นกับแกล้มเหล้า) และเครื่องดื่มมาเลี้ยงดู ระยะเวลา ๓-๕ วัน ที่จัดงานปอยหลวง สิ่งที่พบเห็นทั่วไปคือคนเมา ดื่มบ้านนี้ไปยกแก้วต่อบ้านโน้น
          และผลที่เกิดขึ้นตามมาทุกปีคือคนเมา (ทั้งวัยทำงานและวัยรุ่น) บางรายก่อเหตุทะเลาะวิวาท นอกจากนั้นยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากการจราจรคับคั่ง และเมาแล้วขับ จนกระทั่งวันแห่ต้นครัวทานเข้าวัดมาถึง เป็นวันที่มีคนมาร่วมเยอะมากที่สุด แต่ละบ้านจะนำต้นครัวทานมาเรียงแถวตามแต่ละป๊อก (หัวหมวดบ้าน)
           จากแต่เดิมเป็นขบวนแห่ที่เรียบร้อย สวยงาม มีเครื่องแห่ฆ้อง แห่กลอง คนเฒ่าถือเครื่องไทยทานนำหน้า ละอ่อนตามหลัง ก็กลายเป็นว่าคนเมานำหน้า แบกต้นครัวทานเต้นอย่างเมามันตามจังหวะเพลง ชาวบ้านจะนิยมว่าจ้างเหมารถเครื่องเสียงมานำหน้าขบวนแต่ละหัวหมวดกลายเป็น ขบวนแห่คนเมาและบ้าคลั่งภายใต้การกระหน่ำของเสียงคนตรี มือซ้ายถือขวดเหล้า มือขวากระดกแก้วเหล้าเข้าปากเพื่อน คนเฒ่าแก่เดินตามหลังต้องคอยเก็บยอดเงินที่ตกจากต้นครัวทาน กว่าจะถึงวัด ต้นครัวทานที่เคยสวยงามและเป็นของสูง กลับเหลือเพียงแต่โครงสร้าง ดอกไม้หล่นร่วงหาย กระดาษเงินทองขาดวิ่นไปถวายพระที่วัด

         ต้นครัวทานจะถูกยกนำไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ ตั้งแต่กลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน และวัยรุ่นที่เป็นกำลังหลักของชุมชน ดื่มเหล้าเมาเต้นอยู่กับวงดนตรีหน้าวัด มีหางเครื่องนุ่งน้อยห่มน้อย หรือที่เรียกกันว่า “ดนตรีขาขาว” เหลือเพียงคนเฒ่าคนแก่ที่เข้าวัดไปทำบุญถวายทาน ปัจจุบันประเพณีที่ดีงามหลายอย่างของชาวล้านนา ไม่เฉพาะแต่เพียงงานปอยหลวงเท่านั้น ถูกทำให้กลายเป็นเพียงงานเลี้ยงฉลองและดื่มของมึนเมา เสื่อมถอยทั้งคุณค่าแห่งการทำบุญ คุณค่าของการช่วยงานกันระหว่างเครือญาติ สิ้นเปลืองเงินทองจนก่อให้เกิดภาระหนี้สินตามมา
    
        จากวงพูดคุยของคนเฒ่าคนแก่ที่สะท้อนออกมาว่า“งานปอยบะเดี่ยวนี้บ่อยากใคร่จัด เปลื๋องสตางค์ค่าเหล้าค่าเบียร์การตกแต่งบ้าน ต้องแปะข้าวของ ต้นครัวตานก็ต้องจ้างเปิ้นแป๋ง ละอ่อนมันบ่าเอาหยัง เมาวันค่ำ ไล่ตี๋กัน ฟันกั๋น บ่ม่วน ไข้จ๋างไปเหีย” (งานปอยสมัยนี้ไม่ค่อยอยากจัดเลย เพราะเปลืองเงินค่าเหล้าเบียร์ ต้องเชื่อข้าวของมาตกแต่งบ้านเรือน ต้นครัวทานก็ต้องจ้างคนอื่นทำ เด็กๆ มันไม่ช่วยอะไร เมาทั้งวัน ไล่ตีกัน ฟันกัน ไม่สนุก และงานดูจืดหรือกร่อยไปเสียแล้ว) ด้วยเหตุที่ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของคนล้านนา ได้แปรเปลี่ยนไปจนเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการเลี้ยงดูแขกเหรือ การปรับปรุงบ้านที่อยู่อาศัย จากงานพิธีทางศาสนากลายเป็นงานสนุกสนานรื่นเริง ที่มีแต่ความมึนเมา ขาดสติของคนที่มาร่วมงาน พระครูวิริธ-ประชานุกุล เจ้าอาวาสวัดหัวริน ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีดำริที่จะจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าในการทำบุญฉลองศาลาอเนกประสงค์ของวัดหัวรินขึ้น


            เหตุปัจจัยที่คิดจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าที่วัดหัวริน พระครูวิริธประชานุกุล ได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดงานปอยหลวงปลอดเหล้าวัดหัวริน จากปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดสติไปดื่มสุราในร้านอาหาร และไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ เกิดการติดโรคและส่งผลกระทบกับครอบครัว ที่สุดสามีเสียชีวิตครอบครัวมีปัญหาการเลี้ยงดูลูกเอง พ่อแม่ก็ต้องมาดูแลบุตรหลาน เกิดความขัดแย้งกัน และเป็นปัญหาสังคมตามมา เมื่อเป็นเช่นนี้ทางวัดจึงได้มีแนวคิดการจัดกิจกรรมงานประเพณีทางพุทธศาสนาและวัฒนธรรมโดยการ ลด ละ เลิก สุรา ในระยะนั้น เป็นงานงดเหล้าเข้าพรรษา ออกพรรษาลาเหล้า ต่อด้วยงานสงกรานต์ ซึ่งภาคเหนือเองมีกิจกรรมหลากหลาย การดำหัวผู้ใหญ่ การแห่ไม้ค้ำ ก็มีเรื่องเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ ซึ่งเป็นภาพที่ขัดแย้งต่อความสวยงาม ซึ่งเป็นงานที่น่าจะมีแต่ความอ่อนหวาน ส่งเสริมอนุรักษ์ แต่กลับมีดนตรี ดิสโก้เทค เครื่องเสียง มีการเต้นรำที่ยั่วยุ ในเรื่องของการทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดปัญหาในเรื่องของสุข-ภาวะหรือสุขภาพอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ทางวัดจึงได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องที่ปลอดแอลกอฮอล์มาตลอดและจะมีงานทำบุญฉลองศาลาเอนกประสงค์ แต่จะทำอย่างไรให้การทำบุญครั้งนี้เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เป็นงานที่ทำแล้วให้เกิดบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ แต่วัฒนธรรมปัจจุบันเริ่มมีดิสโก้เทค มีการเต้นนำขบวนครัวทาน เป็นการทำที่ไม่มีคุณค่า จิตใจของผู้สูงอายุที่ตั้งใจเตรียมเครื่อง-ไทยทานเป็นเวลานาน ๒-๓ เดือน เมื่อนำมาทำบุญถวายวัด แต่เมื่อขบวนแห่ล้วนแต่เมาเต้นรำกันตลอดทางทำให้ต้นไทยทานชำรุดหักพังหมด กลับกลายเป็นเศษไม้มาทิ้งที่วัด และกลายเป็นภาระที่วัดต้องเผาทิ้งไปจึงทำให้เกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เป็นงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ไม่ใช่เป็นงานเมาครั้งยิ่งใหญ่ เห็นภาพผู้สูงอายุจูงมือลูกหลานเข้าวัดทำบุญจริงๆช่วงแรกเป็นเรื่องของกระแสการต่อต้านทุกเรื่อง เมื่อมีกิจกรรมที่ไม่เข้าใจข้อมูลไม่ชัดเจน และการไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมก็จะเป็นปัญหาที่ทุกคนค้างคาใจอยู่จึงได้มีการพูดคุย ตั้งแต่กรรมการหมู่บ้าน ศรัทธาวัด ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนด้านผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ของวัดในพื้นที่เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ครูในโรงเรียน เพื่อหาแนวทางจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าของวัดหัวริน และมีคุณธงชัย ยงยืน วิทยากรพี่เลี้ยงจากเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคเหนือ (สคล.) ร่วมในโครงการด้วย โดยใช้กระบวนการรื้อฟื้นความหมายปอยหลวง จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านได้เห็นถึงความสำคัญของงานบุญครั้งนี้ แก่นแท้ของงานปอยหลวง โดยมีกระบวนการดังนี้
 
      ๑. การค้นหาความต้องการของชุมชน
         เริ่มที่ให้เด็ก เยาวชนได้เข้าร่วมค้นหาความต้องการของชุมชน สิ่งที่อยากเห็นในงานปอยหลวงของหมู่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาชุมชน ประวัติงานปอยหลวงเมื่อสมัยก่อน ในกลุ่มหมู่บ้านของตน เช่น พูดคุยกันกับคนเฒ่าคนแก่ในบริเวณรอบๆ บ้านตัวเอง
    
        ๒. การประมวลข้อมูลของคนทำงาน -นำข้อมูลที่ได้มาประมวลในภาพรวมของชุมชนร่วมกันโดยเด็กๆที่ร่วมโครงการจะมารวมตัวกันที่วัดทุกเสาร์-อาทิตย์ โดยจะค้างคืนที่วัด 1 คืน ประมาณ ๕ สัปดาห์ จากการประมวลข้อมูลบางส่วนยังต้องการที่จะจัดงานแบบเดิม มีดนตรีดิสโก้เทคการเลี้ยงดู เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ
       
         ๓. การจัดเวทีประชาคมเมื่อมีการประมวลข้อมูลแล้ว ได้มีเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อยื่นข้อมูลแก่ชุมชนซึ่งเป็นการยืนยันข้อมูลต่างๆ และเก็บรวบรวมมาไม่ต่ำกว่า ๖ ครั้งโดยในการประชาคมหมู่บ้าน ได้นำเสนอข้อมูลค่าใช้จ่ายจากการจัดงานปอยหลวง ครั้งก่อนปี ๒๕๔๔ เป็นค่าเหล้าประมาณ ๘๐% ค่าอาหาร-จิปาถะ ประมาณ ๑๐-๒๐% ส่วนที่ทำบุญแค่ ๑๐% เดิม ๑๐๐% ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดล้วนทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้สินต่อมา

          หลังจากทำประชาคมแต่ละครั้ง มีชาวบ้านเห็นด้วยในการจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้ามากขึ้นเรื่อยๆ    โดยสรุปชาวบ้านจะจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าโดยมติเสียงข้างมากยกมือเห็นชอบร่วมกัน และมีรูปแบบการจัดงานคือ

          ๑) การแต่งดาต้นครัวทานของแต่ละครัวเรือนเป็นการสิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์ค่าใช้จ่ายและเป็นหมู่บ้านใหญ่ๆ ๕๔๐ หลังคา จำนวนต้นจะมีจำนวนมาก จึงเห็นควรจัดเป็นกลุ่มย่อย ๆ ๗ กลุ่ม โดยตั้งต้นที่หมู่บ้านประธานกลุ่ม๒)การเลี้ยงดูแขกเหรื่อที่มารวมกันที่วัดห้ามมิให้มีการจำหน่ายสุรา ในบริเวณจัดงาน

           ๓) ห้ามเลี้ยงสุรา – เบียร์ – เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในบริเวณงานในระยะแรกมีคณะกรรมการหมู่บ้านบางส่วนไม่เห็นด้วย เนื่องจากเห็นว่าปอยหลวงปลอดเหล้าเป็นงานสนุกสนานรื่นเริง การดื่มเหล้าเป็นเรื่องปกติธรรมดา การไม่ดื่มต่างหากเป็นเรื่องผิดปกติ และปรามาสโครงการนี้ไม่มีทางสำเร็จได้เลย แต่ด้วยความตั้งใจจริง และความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน จึงได้เดินหน้าดำเนินงานต่อโครงการลดเหล้าในประเพณีปอยหลวง เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาวะ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่” ได้รับการอนุมัติงบประมาณจาก สสส. โดยผ่าน แผนงานทุนอุปถัมภ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และได้กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานไว้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ รวมระยะเวลา ๑ปี โดยมีท่านพระครูวิวิธประชานุกูล เป็นหัวหน้าโครงการ และนายมงคล ชัยวุฒิ เป็นผู้ประสานงานโครงการ พร้อมทั้งทีมงานท่านอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ในการจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้า วัดหัวริน ในปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา เข้ามาเป็นคณะผู้ดำเนินงาน โดยเฉพาะกำลังหลักที่สำคัญในพื้นที่ พระอาจารย์วันชัย จนฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสอารามพระบาทร้องอ้อ พ่อครูสุรสิทธิ์ สิทธิชัย รองประธานชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสันป่าตอง คุณหมออรพรรณ โนจนานฤดม หมออนามัยตำบลทุ่งสะโตก เป็นต้น ก่อนหน้าที่จะมีการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณจาก สสส. นั้น คณะทำงานโครงการได้เข้าไป ประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจกับแกนนำระดับอำเภอตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๑ โดยได้เข้าไปปรึกษากับ เจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง และนายอำเภอสันป่าตอง เกี่ยวกับการรณรงค์ลดเหล้าในงานปอยหลวง พร้อมทั้งเข้าไปร่วมในการประชุมประจำเดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสันป่าตอง ณ ที่ว่าการอำเภอ นายอำเภอสันป่าตอง รับทราบและประกาศให้เป็นนโยบายของอำเภอ
     
          ในวันที่๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ นอกจากนั้นเรายังได้มีโอกาสไปร่วมเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการลดเหล้างานปอยหลวงในที่ประชุมใหญ่ประจำปีของชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสันป่าตอง และในที่ประชุมคณะสงฆ์อำเภอสันป่าตอง ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ด้วยในส่วนของการดำเนินงานตามโครงการ เราได้จัดวางขั้นตอนการดำเนินงาน ที่สำคัญไว้ หลายขั้นตอน ได้แก่
        
         ๑.เวทีประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาระดับอำเภอ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
         ๒.เวทีถอดบทเรียนองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าชุมชนต้นแบบ
         ๓.ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ โดยอาศัยสื่อวิทยุชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อบุคคลหรือการประสานงานโดยทีมผู้ประสานงาน
         ๔.เวทีปรับทัศนคติแกนนำชุมชน เพื่อให้เห็นความสำคัญของการลดเหล้าในงานปอยหลวง
         ๕.จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสอบถามความคิดเห็นและขอประชามติเกี่ยวกับการลดเหล้าในงานปอย
         ๖.จัดเวทีค้นหารูปแบบการจัดงานปอยหลวงที่เหมาะสมของแต่ละชุมชน
๗.จัดงานปอยหลวงปลอดเหล้าตามกำหนดการของแต่ละพื้นที่
         ๘.จัดเวทีถอดองค์ความรู้งานปอยหลวงของแต่ละพื้นที่ ที่จัดงานปอยหลวงในช่วง ปี ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา โดยเลือกตัวอย่างวัดที่จัดงานปอยในปี ๒๕๕๑มาเพียง ๑๐ วัดจาก ๑๑ ตำบล
         ๙.เวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน ทั้ง ๑๑ ตำบล ในเขตอำเภอสันป่าตอง โดยข้อมูลหลักเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากของการซื้อเหล้าและเบียร์ในประเพณีงานปอยหลวงที่ผ่านมา
         ๑๐.เวทีแถลงข่าวประกาศนโยบายเป็นอำเภอนำร่องของการลดเหล้าในงานประเพณีปอยหลวง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มอบหมายให้สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มาเป็นประธาน
         ๑๑. เวทีสรุปและประเมินโครงการนอกจากกิจกรรมหลักซึ่งจัดทำไว้เป็นขั้นตอนดังกล่าวแล้ว เรายังมีกิจกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการประชุมปรึกษาและวางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน ระหว่างคณะผู้ดำเนินงานโครงการ เพื่อหารือและแบ่งงานกันไปทำตามความสะดวกของแต่ละคน รวมทั้งทบทวนการทำงานในช่วงที่ผ่านมา และขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานในช่วงต่อไปกล่าวโดยสรุป โครงการนี้ได้สิ้นสุดโครงการไปแล้ว ภายหลังจากที่ได้มีการประชุมเพื่อประเมินและสรุปโครงการ ในวันที่ ๓พฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแกนนำจากชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ต่างเห็นพ้องกันว่าสามารถลดการดื่มเหล้าเบียร์ในงานประเพณีปอยหลวงได้ในระดับหนึ่ง แม้จะยังไม่มากนัก แต่ก็นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการนี้จะสิ้นสุดลงแล้วตามสัญญาโครงการ แต่คณะผู้ดำเนินงานโครงการยังหวังว่า จะมีการขยายผลสู่ชุมชนในเขตพื้นที่อื่นๆ อีกต่อไปในอนาคต โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ เพื่อให้งานปอยหลวงยังคงคุณค่าของความเป็นประเพณีที่ดีงามของคนล้านนาไทยต่อไปและขอยืนยันอีกครั้งว่า “งานปอยหลวง” ไม่ใช่ “’งานเมาหลวง” ปอยหลวงคือ“งานบุญครั้งยิ่งใหญ่” ไม่ใช่ “งานเมาครั้งยิ่งใหญ่”
      
       ผลของการดำเนินงานตลอดช่วงระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวอำเภอสันป่าตองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลดเหล้าในงานประเพณีปอยหลวงมากขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ได้มีชุมชนวัดที่สนใจเข้าร่วมรณรงค์ลดเหล้าในงานประเพณีปอยหลวง จำนวนทั้งสิ้น๗วัด ได้แก่

        ๑. ชุมชนวัดส้มป่อย ตำบลมะขุนหวาน
        ๒. ชุมชนวัดป่าชี่ ตำบลทุ่งสะโตก
        ๓. ชุมชนวัดศรีก่อเก๊า ตำบลทุ่งต้อม
        ๔. ชุมชนสำนักสงฆ์ใหม่มงคลสะหรี๋สร้อย ตำบลทุ่งต้อม
        ๕. ชุมชนวัดต้นตัน ตำบลแม่ก๊า
        ๖. ชุมชนวัดกลางทุ่ง ตำบลทุ่งต้อม
        ๗. ชุมชนวัดสันป่าตอง ตำบลยุหว่า

          กระแสของการลดเหล้าในงานปอยหลวง เริ่มแพร่กระจายไปทั่วทั้งอำเภอสันป่าตอง ตลอดจนอำเภอใกล้เคียง จนกระทั่งในวันที่ ๑๕กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ชาวอำเภอสันป่าตองทั้งฝ่ายชาวบ้านและพระสงฆ์ ได้จัดการแถลงข่าวขึ้น ณ วัดหัวริน ตำบลทุ่งสะโตก โดยมีนายวัฒนา กาญจนกามล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ในนามตัวแทนของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการแถลงข่าว ทั้งนี้เพื่อให้ชาวสันป่าตองและประชาชนในพื้นที่อื่นๆได้เห็นความสำคัญของการลดเหล้าในงานประเพณีปอยหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดภาระหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รวมทั้งลดต้นเหตุของการทะเลาะวิวาทในงานบุญประเพณี ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับ และเพื่อให้งานประเพณีปอยหลวงเป็นงานบุญอย่างแท้จริงดังนั้นจึงเป็นนิมิตหมายที่ดีของการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงงานปอยหลวงในปัจจุบันให้เป็น “งานบุญ” อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมา มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า งานปอยหลวงไม่ใช่ “งานบุญ” ครั้งยิ่งใหญ่เหมือนดังเจตนารมณ์ของงานที่มีมาแต่เดิมเสียแล้ว เพราะลักษณะของการจัดงานปอยหลวงในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน อาจเรียกได้ว่าเป็น “งานเมาหลวง” มากกว่า

           ผลจากการดำเนินงานโครงการลดเหล้าในประเพณีปอยหลวง เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาวะอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จนประกาศอำเภอสันป่าตองเป็นอำเภอนำร่องแห่งแรกในประเทศไทย

พิธีสืบชะตาผู้ทุกขภาวะ


คำว่า “สืบจาต๋า ” เป็นการออกเสียงแบบล้านนาตรงกับภาษาไทยกลาง คือ“สืบชะตา” พิธีสืบชะตา จึงหมายถึงพิธีทำบุญต่ออายุของคนภาคกลาง ตามพจนานุกรม ภาษาถิ่นภาคเหนือ ของสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ (๒๕๓๙)ได้ให้ความหมายของการสืบชะตาไว้ว่า หมายถึงการทำบุญในพิธีต่ออายุ การบูชา ดาวพระเคราะห์
ทั้ง ๙ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ราหู เกตุ เพื่อให้เจ้าของพิธีนั้น มีชีวิตร่มเย็นเป็นสุข พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย การสืบชะตาเป็นพิธีกรรมพื้นเมืองที่ชาวล้านนาได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกัน
มาช้านานในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลโดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ทุกข์เหตุเภทภัยทั้งหลาย ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และญาติพี่น้องจะหมดหายไป มีชีวิตจะยืนยาวยิ่งขึ้น อีกทั้งเชื่อว่าเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการ
ปฏิบัติหน้าที่การงานพร้อมที่จะสู้กับชะตาชีวิตต่อไป พิธีสืบชะตานี้แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
   สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบได้แก่ ๒๔ ปี ๓๖ ปี ๔๘ ปี ๖๐ ปี ๗๒ ปี เป็นต้น หรือหลังฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่ามีเคราะห์จำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น
   สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้าน ประสบความเดือดร้อนหรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน ๓ คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปีปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
-สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจลาจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมือง เจ้านาย ท้าว พระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป
   การเตรียมการ
ในการประกอบพิธีนี้ มีเครื่องสืบชะตาที่จำเป็นต้องเตรียมไว้มากมายสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ตามความหมาย ความสำคัญ และสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้
     1) การค้ำจุนชีวิต
        1.1 ไม้ค้ำ (ซุ้มสืบชะตา 3 ขา)
       1.2 ขัวไต่ (สะพานข้ามแม่น้ำ) เป็นเครื่องหมายแสดงถึงว่า โลกนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 ประการ คอยค้ำจุนช่วยเหลือในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง ตรีมูรติ คือ เทพทั้ง 3 ได้แก่ พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ ส่วนทางศาสนาพุทธ หมายถึง พระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ค้ำโยง โลกไว้ หรือ ค้ำโยงชีวิตมนุษย์ ให้ดำรงอยู่ได้ยาวนาน
     2) องค์ประกอบของการมีชีวิต2) องค์ประกอบของการมีชีวิต คือ ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ)
        2.1 กระบอกทราย หมายถึง ปฐวีธาตุ คือ การบูชาธาตุดิน
        2.2 กระบอกน้ำ หมายถึง อาโปธาตุ คือ การบูชาธาตุน้ำ
        2.3 ตุง/ช่อ หมายถึง วาโยธาตุ คือ การบูชาธาตุลม
        2.4 เทียน หมายถึง เตโชธาตุ คือ การบูชาธาตุไฟ เชื่อกันว่าร่างกายมนุษย์ ประกอบไปด้วย ธาตุทั้ง 4 ถ้าหากธาตุทั้ง 4 ไม่ได้รับการดูแลผิดปกติไป ก็อาจจะทำให้มีอาการผิดปกติ ไม่สบายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
     3) เครื่องสืบชะตาเกี่ยวกับมงคล 108 ประการ
         3.1 ช่อ 108 อัน สำหรับปักไว้บนยอดไม้ค้ำ 3 ขา
         3.2 หมากพลู 108 ผูกติดเส้นลวดเงิน 4 เส้น ทำเป็นบันไดชาตา ขนาดยาว 1 วา
         3.3 หมากพลู 108 ผูกติดเส้นลวดทอง 4 เส้น ทำเป็นขัวไต่ (สะพานข้ามแม่น้ำ : ขนาดยาว 1 วา)
(จำนวนเครื่องสักการะ : 108 หมายถึง การบูชาพระพุทธคุณ 56 พระธรรมคุณ 38 และสังฆคุณ 14) ถือเป็นนิมิตในการสร้างมงคลชีวิต

     4) ความเจริญงอกงามของการมีชีวิต
         4.1 กล้ามะพร้าว
         4.2 กล้าหมาก
         4.3 หน่อกล้วย
         4.4 กล้วยดิบ
         4.5 กล้าต้นอ้อย
จัดเป็นเครื่องสักการะที่มีความหมายในเชิงส่งเสริมกล้าพันธุ์ที่เป็นอเนกประโยชน์และมีความหมายในทางความเจริญงอกงามของชีวิต
      5) ส่วนประกอบตามคติความเชื่อ
        5.1 ฝ้ายดิบชุบน้ำมันงา หรือน้ำมันมะกอก ความยาวขนาด ความสูงของผู้สืบชาตา 1 เส้น
        5.2 ตุงค่าคิง/ธง 12 ราศี ยาวขนาดความสูงของผู้สืบชาตา (สีขาว) 1 ผืน
        5.3 เสื่อ 1 ผืน
        5.4 หมอน 1 ใบ
        5.5 เสื้อผ้า
       5.6 นก ปู หรือ หอย เตรียมไว้สำหรับปล่อย
       5.7 พานบายศรีนมแมว
       5.8 หม้อต่อม (หม้อเงิน – หม้อทอง) 2 ใบ สังเกตข้อย่อย 5.1 – 5.6 มีความหมายในการปัดเคราะห์รังควาน การขจัดปัดเป่า ปล่อยเคราะห์ เสนียดจัญไร ทุกข์โศก โรคภัย สิ่งที่เป็นอัปมงคลออกไปจากเจ้าชะตา และข้อย่อย 5.7- 5.8 มีความสำคัญให้เจ้าชะตามีชีวิตยืนยาว “ขวัญหนี ขวัญบิน” ให้กลับคืนมาและมั่งคั่งด้วยทรัพย์สินเงินทอง เพื่อให้ประสบแต่ความสุข ความดีงาม และความรุ่งโรจน์ในชีวิตพิธีการ

  ในการประกอบพิธีสืบชะตาทางสงฆ์
    1. นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป 9 รูป 19 รูป 29 รูปจำนวนเท่าใดก็ได้ตามความเหมาะสม แต่มักนิยม เลขคี่
    2. มัคนายก (ปู่จ๋านวัด) นำไหว้พระ/อาราธนาศีล
    3. ประธานสงฆ์ให้ศีล
    4. มัคนายก อาราธนาพระปริตร
    5. พระสงฆ์รูปที่ 3 กล่าวชุมนุมเทวดา
    6. ประธานสงฆ์ นำสวดมนต์สืบชะตาแบบภาคเหนือบทสวด 3 บท คือ สวดอินต๊ะจ๊ะต๋า (สวดเทวชะตา) สวดอุณหิสสะวิชัย และสวดสักกัตวา ขณะที่พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ จะมีการจุดเทียน 3 เล่ม คือ เทียนสืบชะตา เทียนมหาโชค และเทียนมหาลาภ
     7. เจ้าชะตาเคราะห์ ลูก – หลาน ซึ่งนั่งในซุ้มสืบชะตา ประนมมือ ฟังพระสวดจนจบ
     8. หลังจากพระสงฆ์สวดจบ เจ้าชะตาจะจัดให้มีกัณฑ์เทศน์ 1 กัณฑ์ เช่น คัมภีร์สารากริ คัมภีร์โลกวุฒิ เทศนาธรรม จบแล้ว พระสงฆ์จะมีการผูกมือให้ผู้สืบชะตา ประพรมน้ำพุทธมนต์ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา และมอบเครื่องสืบชาตา แก่เจ้าชะตา นำไปไว้ที่ต้นโพธิ์วัดในหมู่บ้าน
    9. เจ้าภาพพิธีสืบชะตาถวายภัตตาหารเพล/ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่ พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี


วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552





17 กันยายน 2552โรงเรียนบ้านห้วยไซ ได้ต้อนรับคณะกรรมการ ที่มาประเมินโรงเรียนดีไก้ลบ้าน การที่จะทำให้ได้ผ่านการประเมินนั้น จะต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการ ต้องมีตัวชี้วัดที่ยอมรับได้ คือ ความรู้ความสามารถของนักเรียน ที่จะตอบคำถามกับผู้มาประเมินซึงคำถามของกรรมการก็ไม่ยากอะไรมากเป็นคำถามง่ายๆ ส่วนใหญ่แล้วเด็กไม่สามารถตอบได้ เช่นถามว่าดินน้ำมันที่เด็กกำลังปั้นเล่นนะสีอะไร เด็กตอบว่าสีไข่ ผู้ประเมินถามหลายครั้ง เด็กก็ตอบสีไข่เหมือนเดิม ที่จริงแล้วดินน้ำมันนั้นมีสีเหลืองเหมือนไข่ เด็กเลยเข้าใจว่ามันคือสีไข่ คิดเลข 1.5 x 10 ก็ตอบไม่ได้คิดอยู่ตั้งนาน ภาษาอังกฤษก็ท่องจำมา พอถูกถามที่ไม่ท่องมาก็ตอบไม่ได้ เลยไม่ผ่านการประเมิน ซึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ต้องปรับปรุงอย่างมาก ครูควรที่จะต้อหันมาพิจารณาวิธีการสอนให้เกิดประสิทธิภาพที่มากกว่านี้ ให้สมกับการที่รัฐให้เงินเดือนตั้งมากมายซึงก็เป็นเงินภาษีของประชาชนทุกคน ที่มอบความหวังที่จะให้ท่านทั้งหลายช่วยสร้างคนให้มีคุณภาพ เพื่อช่วยใหเขาเหล่านั้นไปสร้างชาติเป็นคนที่มีคุณภาพต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นิคมลำน้ำน่าน

                                                               


จากการที่ผมได้ไปถ่ายทำวีดีทัศน์ที่นิคมลำน้ำน่านเมื่อวันที่ 18-20 สิงหาคม 2552 มีความประทับใจในการต้อนรับของผู้อำนวยการธรรมนูญ อารีธรรม และเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่เอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดีมาก โดยเฉพาะท่าน ผอ.ธรรมนูญ ท่านเป็นกันเองมาก และพี่หมู จรัญ ศิริวรรณ กับศรีภรรยาคุณชื่ออ้วน เลี้ยงดู ทำอาหารให้ทาน อร่อยมากครับ ขอขอบคุณมากๆครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ชุมชนหล่ายแก้ว





         ชุมชนบ้านหล่ายแก้ว อำเภอดอยเต่า จ.เชียงใหม่ เป็นชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่ากระเหลี่ยงเอาไว้อย่างเหนียวแน่น เป็นตัวอย่างของชุมชนอื่นๆได้เป็นอย่างดี การใช้สีมาย้อมผ้าก็ใชสีจากธรรมชาติ โดยใช้เปลือกไม้ ใม้นำมาต้มเพื่อเอาสีของมันมาย้อม

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส่งอาสาสมัครญี่ปุ่น โคจิ







ส่งเพื่อนจากต่างแดน หลังจากทำงานอยู่ร่วมกัน2ปีกว่าคุณKoji Tambata ก็ต้องเดินทางกลับญี่ปุ่นอย่างไรก็แล้วแต่ทุกคนยังคงรักและคิดถึงคุณKoji อยู่เสมอ

ลายผ้ากับชนเผ่า


หญิงสาวไทยลือ

ลายผ้าชาวไทยลือ จ.เชียงราย(ผ้าปูที่นอน)

วัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่า

ม้งขาวบ้านผานกกก
พี่สอนน้องปักผ้า

ลายผ้าของชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่บนดอย มีคุณค่าทางวัฒนธรรมนับวันจะสูญหายไป ถ้าเจ้าของไม่อนุรักษ์ สืบทอดเอาไว้คงเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เพราะคนรุ่นใหม่รับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆเข้าไปแทนวัฒนธรรมการแต่งตัวแบบเดิม และอีกอย่างการทำลายผ้าก็ใช้เวลามาก ซึ่งสวนทางกับภาวะเศษฐกิจที่เจริญอย่างรวดเร็ว ทุกคนต่างเร่งรีบ ในการทำมาหากินหารายได้ เพื่อความอยู่รอดของปากท้อง

ชมสวนดอกไม้


กล้วยไม้ตระกูลรองเท้านารี
กล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชที่ลักษณะพิเศษที่ชอบขึ้นบริเวณดินที่ค่อนข้างโปร่งอาศัยใบไม้ที่เน่าเปื่อยมีระบบรากตื้นหรือแม้แต่บนหน้าผาที่เป็นหินเป็นพืชที่ปลูกง่าย เป็นพืชที่ออกดอกได้ทุกปี ไม่ต้องดูแลมากนัก ถึงเวลาที่เขาจะออกดอกมาให้เราได้เชยชมเสมอ กล้วยไม้จึงได้รับการขนานนามว่า ราชินีแห่งต้นไม้

ท่องวันหยุด

เอ้า!! มาถ่ายรูปหมู เอ๊ย..รูปหมู่กันเถอะ
โอ๊ย...คีนูรีฟ คราวหน้า เปลี่ยนรองเท้าใหม่ด้วยนะ

แต่งตัวไม่สุภาพเลยนะ อายพระอายเจ้าบ้างนะตัวเธอ


อาโนเนะ...เอ๊ะ ไม่ใช่ ขวัญเองค้า


นางแบบสั่งตรงมาจากไหนเนี๊ยะ ขาย้าว..ยาว



ขาสั้น คอซอง ใครแอ็คท่าดีกว่ากันเนี๊ยะ

ใครสวย ใครหล่อ ก็ดูกันเอาเองน่ะ


เฮ้!! ที่สุดแห่งประเทศไทย หัวเรือจักรีนฤเบศน์ เราไปกันมาแย้ว



โอ๊ย!!! ภูเขาไฟฟูจิ แหล่มมากเลย (ถึงเล็กแต่เร้าใจ)


สี่สหายถ่ายรูปร่วมกัน ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล


บนเรือจักรีนฤเบศน์ ลมแรงพัดแรงจนบางคนเกือบหล่นจากเรือ (น้องขวัญ)





ทั้งสนุก ทั้งมัน ร่วมกันเฮฮาสุขสัน ทะเลที่นี้สวยม๊ากมาก น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลาเลยหล่ะอิ ๆๆๆๆ




เมื่อวันที่ 23-27 สิงหาคมที่ผ่านมาพวกเราพนักงานลูกจ้างสำนักงานสสว.10 ไปท่องเที่ยวกันที่จังหวัดระยอง บรรยากาศการท่องเที่ยวก็สนุกบ้างไม่สนุกบ้าง แต่ทุกคนก็พอใจ ที่หนึ่งปีได้ไปพักผ่อนหล้งจากที่ทำงานกัน ขอขอบคุณผู้บริหารที่มองเห็นความสำคัญของพนักงาน มอบโอกาสให้ได้พักผ่อนกัน

photolee

photolee
Thawat Palee