วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ภูลังกา

บรรยากาศตอนเช้า วิวเขาที่สวยงามของเทือกเขาภูลังกา ในอำเภอปง จ.พะเยา ในเดือนธันวาคมซึงเป็นหน้าหนาวพอดีใครที่อยากไปเที่ยว จ.พะเยา ลองไปพักสักคืน ที่นั้นมีรีสอร์ทให้พักด้วย ลองไปเที่ยวดุนะครับรับรองจะติดใจในบรรยากาศที่ไม่เหมือนที่ไหน

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

ท้องถิ่นยุคใหม่ : ใส่ใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก



ท้องถิ่นยุคใหม่ : ใส่ใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
สรุปโดยรุ้งเพชร สุมิตนันท์


        ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่น เป็นการกำหนดทิศทางและแนวทางในการสร้างสังคมไทยในอนาคต ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมที่บุคคลในชาติสามารถปรับตัวให้ทันกับความรู้ของโลกที่เป็นสากล อันเนื่องมาจากกระแสการรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร สังคมไทยต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงให้รักการเรียนรู้ รู้วิธีการแสวงหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารมากขึ้นและปรับเปลี่ยนค่านิยมการเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมทักษะชีวิตให้กับเด็ก ให้เด็กคิดเป็นคิดอย่างมีเหตุมีผล และคิดอย่างเป็นระบบ จากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องนำแนวทางดังกล่าวสู่ความยั่งยืนโดยจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ตำบล เพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้ข้อมูล ข่าวสาร และสถานที่จัดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเด็กในชุมชน ตลอดจนผลักดันไปสู่การเป็นตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน

ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่นประกอบด้วย ๗ ยุทธศาสตร์ ๒๘ มาตรการ ซึ่งในแต่ละมาตรการได้กำหนดตัวชี้วัดเพื่อบ่งบอกว่าได้บรรลุมาตรการ และยุทธศาสตร์เหล่านั้นหรือไม่เพียงใด ดังมีรายละเอียดดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่๑ : การพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการ

มาตรการที่๑: การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยบรรจุแผนส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในแผนพัฒนาท้องถิ่น

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีแผนงาน/โครงการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กบรรจุในแผนพัฒนาตำบล/แผนพัฒนาท้องถิ่น

มาตรการที่ ๒ สนับสนุนด้านวิชาการและสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักสามารถเป็นกลไกในการเฝ้าระวังปกป้องคุ้มครองและพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กระดับท้องถิ่น

ร้อยละ๓๐ของประชากรเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสาร เกิดความรู้ ความเข้าใจในการปกป้องคุ้มครองเด็ก

ร้อยละ ๕๐ของอปท.มีการจัดตั้ง คณะกรรมการุ้มครองเด็กและพัฒนาเด็กระดับท้องถิ่น

มาตรการที่ ๔ : สนับสนุนให้นำเสนอข้อมูลการวิจัยด้านเด็กต่อสังคมเพื่อสร้างกระแสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนใน การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและกระบวนการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๕๐ของอปท.ได้นำองค์ความรู้ ข้อมูล ผลงานวิจัยเสนอต่อประชาชนให้รับทราบ/ตระหนักสนับสนุนด็กห้นำเสนอข้อมูลการวิจัยด้านเด็กต่อสังคมเพื่อสร้างกระแสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในพัฒนาเด็กการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็ก

มาตรการที่ ๕ : สร้างสิ่งจูงใจแก่ภาคเอกชนในการสร้างและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์สำหรับ

เด็กและร่วมกันพัฒนาเด็ก มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและเชิดชูหน่วยงาน/องค์กรภาคีที่ดำเนินการด้านเด็กปีละ ๑ ครั้ง

มาตรการที่ ๖ : จัดให้มีกลไกเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งอบายมุขหรือแหล่งมั่วสุมของเด็กและเยาวชน

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีเครือข่ายเฝ้าระวังและแจ้งเหตุ

มาตรการที่ ๗ : สร้างและพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการสร้างและพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผล

ยุทธศาสตร์ที่ ๒: สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและครอบครัว มาตรการที่ ๑ : ปลูกฝัง ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรมและสร้างทักษะในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องให้กับเด็กและครอบครัว

ร้อยละ๗๐ของอปท.มีกิจกรรมและโครงการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมของเด็กและครอบครัว

มาตรการที่ ๒ : ปลูกฝังแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กและครอบครัว

ร้อยละ๗๐ของครอบครัวและเด็กรู้และเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้เป็นที่พึ่งของเด็ก

ร้อยละ๗๐ของอปท.ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนให้เป็นที่พึ่งของเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๓: ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กในท้องถิ่น มาตรการที่ ๑ : จัดระเบียบชุมชนเพื่อขจัดพื้นที่เสี่ยงสำหรับเด็กและเยาวชน

ร้อยละ๗๐ของอปท.จัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ดีและมีกรจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๒ : รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๗๐ของอปท.มีการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก


มาตรการที่ ๓ : ใช้มาตรการทางกฎหมายและสังคมในการควบคุมสถานบริการ สื่อลามก ร้านเกมส์อย่างเข้มงวด

จังหวัดมีคณะกรรมการและหรือหรือคณะทำงานตรวจสถานบริการร้านเกมส์ หอพักอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ชุด

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ของเด็ก มาตรการที่ ๑ : จัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเพื่อให้เด็กมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละ๘๐ของพื้นที่อปท.มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน /แหล่งเรียนรู้ /พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก

มาตรการที่ ๒ : จัดกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลายสำหรับเด็กตามกลุ่มอายุอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย เทคโนโลยีและทักษะชีวิตที่มีหลักการคิดอย่างมีเหตุผลและคิดอย่างสร้างสรรค์

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ /มีกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็ก

มาตรการที่ ๓ : พัฒนาบุคลากรของท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

มาตรการที่ ๔ : พัฒนาพ่อ แม่ ผู้ปกครองให้มีศักยภาพในการพัฒนาเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

ร้อยละ๘๐ของอปท.มีการพัฒนาศักยภาพ พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก ในการพัฒนาเด็กและจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ส่งเสริมให้มีแผนตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน มาตรการที่ ๑ : ผลักดันให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตำบล น่าอยู่สำหรับเด็กในท้องถิ่นเพื่อให้มีงบประมาณรองรับสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีแผนงาน/ โครงการด้านตำบลน่าอยู่สำหรับเด็กและเยาวชน

มาตรการที่ ๒ : จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการลงนามบันทึกข้อตกลง/ข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานองค์กรด้านเด็กในพื้นที่

มาตรการที่ 3 : จัดทำแผน ปฏิบัติการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ๕๐ของอปท.มีการจัดทำแผนปฎิบัติการด้านเด็กร่วมกับภาคีเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาระบบฐานข้อมูล มาตรการที่ ๑ : กำหนดรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

มาตรการที่๒ : การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

ร้อยละ ๕๐ของจังหวัดมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านเด็ก

มาตรการที่ ๓ : สร้างและพัฒนาการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ๕๐ของจังหวัดมีระบบฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่น

มาตรการที่๔ : พัฒนาบุคลากรด้านการจัดทำฐานข้อมูล

ร้อยละ๕๐ของ อปท.มีเจ้าหน้าที่ผ่านการฝึกอบรมระบบฐานข้อมูลด้านเด็ก

ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : พัฒนาเครือข่ายการทำงานเพื่อเด็ก

มาตรการที่ ๑ : ภาคีเครือข่ายมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๗๐ของจังหวัดมีภาคีเครือข่ายที่มีศักยภาพในการจัดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเด็ก

มาตรการที่ ๒ : ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาร่วมกันจัดศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม

ร้อยละ๗๐ ของ อปท.มีศูนย์การเรียนรู้ด้านสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น

มาตรการที่ ๓: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็ก

ร้อยละ๑๐๐ของจังหวัด/อำเภอ มีสภาเด็กและเยาวชนดำเนินงานด้านเด็ก

มาตรการที่ ๔ : พัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านสิทธิเด็ก รวมทั้งเด็กชาติพันธุ์ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ร้อยละ๗๐ของจังหวัดมีขั้นตอนการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสิทธิเด็กและเด็กชาติพันธุ์



หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก.โทร.๐๒ ๖๕๑๖๙๕๙

----------------------------

เอกสารอ้างอิง

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก. ยุทธศาสตร์และมาตรการในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในระดับท้องถิ่น , ๒๕๕๒



















photolee

photolee
Thawat Palee