วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้าวกล้องทำมือสันมะค่า


”“อำเภอป่าแดด” จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียง ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์ดี เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว 17 จังหวัดภาคเหนือ


"ตำบลสันมะค่า” อยู่ในอำเภอป่าแดด ประชากรร้อยละ 95 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก ปีละ 2 ครั้ง

ผู้สูงอายุในตำบลสันมะค่าได้รวมตัวกันก่อตั้ง “ชมรมผู้สูงอายุตำบลสันมะค่า”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

ในระยะเริ่มต้น “ชมรมผู้สูงอายุตำบลสันมะค่า”เป็นกลุ่มกิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน แต่ต่อมาได้เลิกกิจกรรมไปเพราะการทำเครื่องจักสาน ต้องใช้แรงตัดไม้ไผ่ในป่า นอกจากไม่เหมาะสมกับ วัยผู้สูงอายุแล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่ง ก็คือไม้ไผ่ป่าเริ่มหายาก อีกทั้งทุกชุมชนในละแวกนี้ ล้วนมีผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจำหน่าย ทำให้ขายได้ยาก

กลุ่มผู้สูงอายุได้มองเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่รวมกลุ่มจัดทำกิจกรรมผลิตข้าวกล้องหอมมะลิทำมือตำแบบโบราณ โดยใช้ครกกระเดื่อง เป็นการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง อีกทั้งส่งผลทางด้านจิตใจสร้างความภาคภูมิใจที่สามารถใช้ภูมิปัญญาสืบทอดและรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน

จึงนับว่ากลุ่มผู้สูงอายุเดินมาถูกทางที่ไม่ยอมอยู่เฉยๆหากิจกรรมมาทำคือการทำข้าวกล้องทำมือจากเมล็ดข้าวพันธุ์ดี ที่ทางเทศบาลตำบลสันมะค่าร่วมกับศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเน้นการส่งเสริมให้ปลูกข้าวในพื้นที่นาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมคุณภาพ และปลอดสารเคมี

จากข้อมูลปี พ.ศ.2553 การตรวจระดับสารเคมีในเลือดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลสันมะค่า ประชากรจำนวน 1,000 คนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พบว่าร้อยละ 72 มีระดับสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับสูง ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงหันมา ใส่ใจเรื่องสุขภาพ ดำเนินชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ที่อิงอยู่กับธรรมชาติ การกระทำกิจกรรมอย่างสมดุลในทุกช่วงชีวิตและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมรอบข้าง ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตและคุณค่าในตนเองอย่างมหาศาล

จึงได้แต่หวังว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นรายได้ต่อหัวประชากร จะไม่ทำให้ความรัก... ความศรัทธา...กับ สิ่งเล็กๆในธรรมชาติและวัฒนธรรมของคนที่นี่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเกินไป



มารู้ภาษานิเวศกันถอะ

ภาษานิเวศ (Ecological Literacy หรือ Eco-literacy)


ภาษานิเวศ เน้นความสามารถที่จะเข้าใจระบบต่างๆ ของธรรมชาติที่ได้โอบอุ้มชีวิตต่างๆ บนโลกใบนี้ การรู้ภาษานิเวศจึงหมายถึงการเข้าใจหลักเกณฑ์การจัดองค์กรของชุมชนนิเวศแบบต่างๆ ที่เรียกว่า “ระบบนิเวศ” และนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปสร้างสรรค์ชุมชนมนุษย์ที่อยู่อย่างยั่งยืน

สังคมที่รู้จักภาษานิเวศ เป็นสังคมยั่งยืนที่เข้าใจดีว่าจะอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่ชาวพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยโดยไม่ทำลายได้อย่างไร

การรู้ภาษานิเวศจึงเป็นเรื่องของการเข้าใจและการปรับใช้หลักเกณฑ์การจัดองค์กรของระบบนิเวศต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ว่าจะสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้อย่างไร

ภาษานิเวศได้ผนวกรวมศาสตร์ที่ว่าด้วยระบบต่างๆ เข้าด้วยกันกับนิเวศวิทยา ในการผนวกรวมศาสตร์ทั้งสองด้านดังกล่าวจึงต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างซาบซึ้งทั้งกับธรรมชาติ และบทบาทมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ

การคิดเป็นระบบ (Systems thinking) คือการตระหนักรู้ว่าโลกทั้งผองเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน หาใช่เป็นการรวบรวมส่วนประกอบแต่ละอย่างเข้าด้วยกันไหม

พริตจ๊อบ คาบรา ได้กล่าวไว้ว่า ในหลายสิบปีข้างหน้า การอยู่รอดของมนุษย์ชาติจะขึ้นอยู่กับการเข้าใจภาษานิเวศของเรา เราต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของนิเวศวิทยาเพื่อที่จะอยู่กับมันได้ นั่นคือ ภาษานิเวศต้องกลายเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักการเมือง ผู้นำธุรกิจและนักวิชาชีพทุกสาขา

เดวิด ออร์ ได้ระบุถึงเป้าหมายภาษานิเวศว่า “ภาษานิเวศ ถูกสร้างขึ้นมาจากความตระหนักว่า ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ สะท้อนถึงความเสื่อมถอยของจิตใจที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าจึงเป็นปัญหาใหญ่ของสถาบันต่างๆ ที่มุ่งยกระดับจิตใจ หรืออีกนัยหนึ่ง วิกฤตนิเวศน์ ก็คือ วิกฤตการศึกษานั่นเอง การศึกษาทั้งมวลเป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมว่าจะให้เด็กๆเป็นส่วนหนึ่ง หรือ แยกส่วนออกจากโลกธรรมชาติ” เขาเน้นย้ำอีกว่าการเข้าใจภาษานิเวศน์ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสาขาวิชาใดๆ แต่เป็นการสร้างสรรค์ถักทอสายใยอย่างมีความหมายระหว่างการใช้สมองคิด การลงมือทำและการทุ่มเททั้งหัวใจ

                       ที่มา:จากข้อเขียน David W.Orr และ Capra

photolee

photolee
Thawat Palee