วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาข่า

อาข่า หรือ อีก้อ เป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนที่สูงสว่นมากจะอยู่ในแถบภาคเหนือเช่นเชียงรายเป็นส่วนใหญ่ เชียงใหม่ ลำปาง อาชีพทำไร่ข้าวบนที่สูง อาข่า มีความเชื่อในวิญญาญและธรรมชาติ เพราะไม่ปรากฏว่ามีการนับถือศาสนามาก่อน แต่มี “บัญญัติอาข่า” ซึ่งหมายรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำเนินชีวิตต่างๆ โดยเน้นหลักการเคารพบูชาบรรชนเป็นหลัก จะพบประตูเข้าหมู่บ้านที่เรียกว่า “ประตูผี” เชื่อว่าเป็นการแบ่งเขตแดนระหว่างผีกับคนจนกลายเป็นธรรมเนียมที่ทุกหมู่บ้านต้องสร้างประตูนี้ พวกที่เคร่งไสยศาสตร์เมื่อจะเข้า-ออกหมู่บ้านต้องผ่านประตูนี้เท่านั้น ถือว่าเป็นการล้างมลทินภูติผีที่ติดตัวมาจากข้างนอก ผู้ที่ผ่านไปมาไม่ควรไปแตะต้องประตูหรือสิ่งของใดๆที่ประตูนี้ทั้งสิ้น เทศกาลที่แน่นำที่จะไปท่องเที่ยวคือประเพณีโล้ชิงช้า

กะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอญอ

ะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอญอจะตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณภูเขาที่ไม่สูงนัก หรือตามพื้นราบ แต่ละหมู่บ้านจะมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึง 30 -40 หลังคาเรือน ลักษณะของบ้านจะเป็นไม้ไผ่สับฟาก หลังคามุงด้วยใบตองตึงหรือหญ้าคา ภายในเป็นห้องเดียวโล่ง มีเตาไฟอยู่กลางบ้านสำหรับใช้หุงต้มอาหารและให้ความอบอุ่น ลักษณะเด่นของกะเหรี่ยงที่ไม่เหมือนกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ ก็คือ การตั้งหมู่บ้านอย่างถาวร ทั้งนี้เพราะความสามารถในการอนุรักษ์ดิน และการทำนาแบบขั้นบันไดตามไหล่เขา ซึ่งสามารถที่จะทดน้ำจากลำห้วยลำธารที่อยู่สูงกว่าพื้นที่นาเข้าไปใช้ได้ กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาเผ่าเดียวที่ไม่นิยมโค่นไม้ทำลายป่าการปกครองในหมู่บ้านกะเหรี่ยงจะมี 3 ฝ่าย คือ หัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และกลุ่มผู้อาวุโสหัวหน้าหรือผู้นำหมู่บ้านจะเรียกว่า ฮีโข่ ซึ่งมีการสืบทอดสายเลือดมาทางบิดา สำหรับหมอผีจะมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและรักษาโรค ส่วนกลุ่มผู้อาวุโสจะเป็นผู้ที่รักษากฎ จารีตประเพณี ตัดสินคดีความและเป็นที่ปรึกษาให้กับหัวหน้าหมู่บ้าน

สวัสดีปีใหม่.๒๕๕๔

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เวทีพลังสื่อเพื่อการปฏิรูปสังคมไทย

เวทีพลังสื่อเพื่อการปฏิรูปสังคมไทย

วันที่ ๒๒-๒๓ ธค.๒๕๕๓กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดเวทีพลังสื่อเพื่อการปฏิรูปสังคมไทย ณ โรงแรมมณเฑียรรีเวอร์ไซค์ นายวิทัศน์ เตชะบุญ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นพิธีเปิดเปิดและได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อสารมวลชนที่มีบทบาทอันสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคม สื่อเองมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เชิงบวกเช่นมีการเฝ้าระวังเตือนภัยทางส้งตมรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุ่ประชาชน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม โดยการจัดงานครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเครือข่าย การเผยแพร่ข้อมูลและสื่อมวลชนด้านการพัฒนาสังคมเพื่อเป็นช่องทางส่งข้อมูลข่าวสาร สารประโยชน์ประชาชน







ท่องเที่ยวไปกับ Photolee: HMONG NEW YEAR 2011

ท่องเที่ยวไปกับ Photolee: HMONG NEW YEAR 2011

HMONG NEW YEAR 2011


HMONG NEW YEAR  Culural and traditional CelebrationJanuary
15-16 ,2011at the Outdoor Tribal Museum,
(near Chiang Mai City hall)

The Hmong Uniqueness Performances- Reed Pipe Dancing

- Cloth Ball Tossing

- Wooden Top Competition

- Traditional Singing Contest

- Love’s Song Singing Contest

- Other plays

- Live Concert

More Information : 081-19608499, 085-0297611, 086-792656
 Organized by :The Haang Clan Association
Supported by :The Technical Promotion and Support Office 10, The Ministry of Social Development and Human Security

ปีใหม่ม้ง 2011

เชิญเที่ยวงานการสืบสานประเพณี ปีใหม่ม้ง ๒๕๕๔

       วันที่ ๑๕-๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
ชมการแสดงและการละเล่นของม้ง
-โยนลูกช่วง -เป่าแคน-เล่นลูกข่าง -ตีลูกข่าง -ละคร
-ประกวดร้องเพลง ร้องเพลงโต้ตอบ (ดั้งเดิม)
-คอนเสิร์ต(นักร้องรับเชิญทั้งในและต่างประเทศ   
     
  ณ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา กลางแจ้ง ติดบริเวณสวนลานนา ร.๙ ถ.โชตนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

จัดโดย:สมาคมพัฒนาม้งหาง เลขที่ ๓๐๒ หมู่ ๒ ถ.เชียงใหม่ฝาง ซอย ๙ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
โทร.๐๘-๑๙๖๐-๘๔๙๙ , ๐๘-๕๐๒๙-๗๖๑๑ ,๐๘-๖+๗๙-๒๖๕๖
สนับสนุนโดย:สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๐ จังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประกวดร้องเพลงสรรเสริญ

วันที่ 11ธันวาคม 2553หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชกาจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการมอบรางวัลการประกวดร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่จัดโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการครัง ในงานเฉลิมพระเกียรติ ๕๔ พรรษา มีการประกวดร้องเพลงทั้งภาคประชาชนและนักเรียนเข้าประกวดร้องเพลงในครั้งนี้ และได้มอบชุดคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนที่ส่งนักร้องเข้าประกวดด้วย





photolee

photolee
Thawat Palee